วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553

อาณาจักรออตโตมานเติร์ก

อาณาจักรออตโตมานเติร์ก
การสถาปนาอาณาจักรออตโตมานเติร์ก การสถาปนาอาณาจักรออตโตมานเติร์ก

เติร์กได้ลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงในอนาโตเลียก็เริ่มแผ่ขยายอำนาจไปยังดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบเซนไทน์ และได้ตั้งอาณาจักร เซลจุกเติร์กขึ้นมา อาณาจักรเซลจูกเติร์กอยู่ได้ 100 กว่าปี ก็เสื่อมอำนาจลง ออสมัน ชาวเติร์กอีกเผ่าหนึ่ง ได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช และได้สถาปนาอาณาจักรของตนเองขึ้นในภาคตะวันตกของอาณาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตก เรียกว่า ออตโตมันตามพระนามของสุลตานออสมัน ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์

อาณาจักรออตโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูรซ่า ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันย้ายไปเมือง เอดิร์เนซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงคอนสแตนติโนเปิล

กลางศตวรรษที่ 13 พวกออตโตมันเข้าตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลภายใต้การนำของศุลต่านโมฮัมเหม็ดได้ที่ 2 ตีแตกสลายในวันที่ 29 พฤษาภาคม ค.ศ.1453 สุลต่านโมฮัมเหม็ดได้ตั้งจักรวรรดิเติร์กขึ้นแทนที่จักรวรรดิไบเซนไตน์จากนั้นสุลต่านองค์ต่อๆมาก็ได้ดำเนินพระราโชบายเช่นเดียวกับพระองค์สุลต่านเซลิมที่ 1 (Selim 1) ตีประเทศอียิปต์และดินแดนภาคเหนือของแอฟริกาใต้ได้

จักรวรรดิออตโตมันเติร์กมีอำนาจยิ่งใหญ่น่าเกรงขามในแผ่นดินสุไลมานที่ 1 ( ค.ศ. 1520-1566) จักรวรรดิมีอาณาเขตปกคลุมคาบสมุทรบอลขาน- เอเชีย - ไมเนอร์ ดินแดนแถบเมโสโปเตเมีย คาบสมุทรอาหรับ และภาคเหนือของแอฟริกาจนกระทั้งศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดี มีมากขึ้นทำ ให้เกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวก ส่งผลให้การเมืองในประเทศอ่อนแอ

อย่างไรก็ดี ในศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจในยุโรป เริ่มเห็นถึงความอ่อนแอของอาณาจักรออตโตมัน และเริ่มตั้งคำถามว่าจะทำอย่างไร กับอาณาจักรออตโตมัน ต่อมาได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรปต่อมาในปี ค.ศ. 1876 ได้มีการปฎิรูปการเมือง โดยพวกเติร์กหนุ่ม (young-turks) จนทำให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่2 ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจแต่มี สุลต่านเมห์เมตที่ 5 ขึ้นครองราชย์แต่ไม่มีพระอำนาจ ทรงเป็นหุ่นเชิดของเติร์กหนุ่มเท่านั้น

ต่อมา Enver pasha ผู้นำกลุ่มเติร์กหนุ่มได้นำประเทศเข้าสู้สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1914 สงครามยุติลงโดยฝ่ายเยอรมันเป็นฝ่ายแพ้ จึงทำให้อาณาจักรออตโตมันสูญเสียดินแดนและลุ่มสลายไปในปี ค.ศ. 1918

เป็นผลมาจากการพาณิชย์และปฏิสัมพันธ์ทางการเมือง อักขระของภาษาอาหรับนั้นเป็นพื้นฐานของเปอร์เซีย พาชตูอุรดู (Urdu) และอักขระในภาษาอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก

จักรวรรดิออตโตมัน(Ottoman) (ค.ศ.1299-1923) จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลกมุสลิม

ในช่วงที่เซลจุกเติร์กกำลังเสื่อมอำนาจชาวเติร์กเผ่าอื่นๆ ซึ่งได้อพยพตามเวลจุกเติร์กเข้ามาในอนาโตเลีย ได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราช ซึ่งในจำนวนนี้รวมถึงชาวเติร์กกลุ่มหนึ่งภายใต้การนำของออสมัน เบย์ (Osman Bey)ผู้นำชาวเติร์กเผ่า Kayi ซึ่งสายย่อยของเติร์กเผ่า Oghuz บิดาของออสมันชื่อ Ertugrul เป็นผู้นำเผ่า Kayi ซึ่งเป็นกลุ่มหนึ่งที่อพยพไปอยู่ในเปอร์เซีย ในกลางศตวรรษที่ 13 Ertugrul ได้อพยพเข้ามาในอนาโตเลีย เพื่อหลบหนีการโจมตีของพวกมองโกลอพยพเข้ามายังอนาโตเลียแล้ว
Ertugrul เสียชีวิต ออสมันบุตรชายได้ขึ้นเป็นผู้นำแทน ภายหลังที่อาณาจักรเซลจุกเสื่อมอำนาจ ออสมันได้ถือโอกาสประกาศตนเป็นเอกราชและได้สถาปนาอาณาจักรของตนเอง ในภาคตะวันตกของอนาโตเลีย อาณาจักรแห่งนี้ชาวตะวันตกเรียกว่าออตโตมัน (Ottoman) แต่ในภาษาตุรกีจะเรียกว่า ออตแมนลิ (Osmanli)
ตามพระนามของสุลต่านออสมัน (Osman) ผู้สถาปนาอาณาจักรและราชวงศ์

อาณาจักรออตโตมันมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองบูร์ซ่าเดิมชื่อเมือง Proussa ในต้นศตวรรษที่14 ออสมันได้ยกกำลังมาปิดล้อมเมืองนี้แต่ไม่สามารถยึดเมืองได้หลังจากที่พยายามปิดล้อมเมืองอยู่นานเกือบ 10 ปีอย่างไรก็ดีการเข้ายึดเมืองดังกล่าวนี้ได้นำไปสู้การเปลี่ยนแปลงอย่างสำคัญต่อออตโตมัน ออตโตมันเติร์กซึ่งเดิมเป็นชนเผ่าเร่ร่อนได้ลงหลักปักฐานที่เมืองนี้ เมืองบูร์ซ่าเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันเติร์ก จนถึงปี 1362 ภายหลังการสส้นพระชนม์ของสุลต่านออร์ฮัน เมืองหลวงของออตโตมันก็ถูกย้ายไปเมืองเอดิ์เน (Edirne)

อาณาจักรออตโตมันตั้งประชิดติดกับอาณาจักรไบแซนไทน์ ที่กำลังเสื่อมอำนาจลงตามลำดับ ซึ่งมีสภาพไม่อะไรไปจากนครรัฐเล็กๆ ที่ถูกล้อมรอบโดยอาณาจักรออตโตมัน อย่างไรก็ดีไบแซนไทน์ก็ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้ โดยอาศัยกำแพงเมืองอันสูงใหญ่เป็นปราการป้องกันตนเองกำแพงแห่งนี้ได้ปกป้องคุ้มครองนครคอนสแตนติโนเปิลจากการปิดล้อมและโจมตีของข้าศึกเกือบ 20 ครั้ง มีเพียง 2 ครั้งเท่านั้นที่ข้าศึกสามารถบุกเข้ายึดเมืองได้ คือ ในปี ค.ศ. 1204 จากการโจมตีของกองทหารครูเสด ในปี ค.ศ. 1453 จากการโจมตีของออตโตมันเติร์ก

ในปี ค.ศ. 1390 และ 1391 สุลต่านไปยัดซึ ที่1 ทรงพยายามปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลถึง 2 ครั้ง แต่ก็ไม่สามารถตีเมืองได้สำเร็จ ในปี ค.ศ 1422 สุลต่านมูราตที่ 2 ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 3 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเช่นเดียวกัน จนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1453 สุลต่านเมห์เมตที่2 ได้เปิดฉากการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลอีกเป็นครั้งที่ 4 ยกระดมพลกว่าแสนคนปิดกรุงคอนสแตนติโนเปิล

การปิดล้อมทั้งทางบกและทางทะเลของสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เริ่มต้นขึ้นในต้นฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1453 ภายหลังที่ปิดล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ประมาณ 50 วัน ออตโตมันก็สามารถทะลวงกำแพงเมืองอันสูงใหญ่ของกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จในวันที่29 พฤษภาคม 1453 และเข้ายึดกรุงได้ในที่สุดการปิดฉากลงอย่างสมบูรณ์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์ หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก สามารถยืนหยัดอยู่รอดมาได้ยาวนานถึง 1, 123 ปี

ความสำเร็จในการโจมตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลในครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของชนเชื้อสายเติร์กได้เปิดให้อาณาจักรออตโตมันได้ก้าวไปสู่การเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา

ภายหลังที่สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้สำเร็จทรงได้รับการขนานพระนามว่า ฟาติ เมห์เมต (Fatin Mehmet) ฟาติ มีความหมายว่า ผู้พิชิต สุลต่านเมห์เมตที่ 2 ทรงโปรดให้ย้ายเมืองหลวงของอาณาจักรออตโตมันจากเมืองเอดิ์เน มายังกรุงคอนสแตนติโนเปิลอาณาจักรออตโตมันได้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ที่ของโลกมุสลิมในเวลาต่อมาได้ขยายอำนาจครอบคลุมดินแดนถึง 3 ทวีป ได้แก่ ตะวันออกกลาง แอฟริกาเหนือ และยุโรปบอลข่าน

อาณาออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยของสุลต่านสุไลมาน(ครองราชย์ระหว่างปี ค.ศ. 1520-1566) ในสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของอาณาจักรออตโตมัน พระราชอาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดออสเตรีย ทิศตะวันออกจรดคาบสมุทรอารเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมีย ทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่ (Suleyman the Magnifijcent) สำหรับชาวตุรกีพระองค์ได้รับพระสมัญญานามว่า สุไลมาน ผู้พระราชทานกฎหมาย เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฎหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างการทำสงครามที่ฮังการีในปี ค.ศ. 1566 สิริรวมพระชนม์มายุได้74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี

สิ้นรัชกาลของสุลต่านสุไลมาน อาณาจักรออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อมซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300 ปี ก่อนที่จะล้มสลายอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่1 สาเหตุที่นำไปสู่การเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันที่ สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุสต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี ค.ศ. 1566-1789 การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา 

พระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงอย่างมาก ในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดี (Grandvizier)มีมากขึ้นในยุคนี้ การฉ้อราษฏร์บังหลวง การเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ อาณาจักรออตโตมันประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัติอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วอาณษจักรออตโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี อาณาจักรออตโตมันก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาด้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในอาณษจักรออตโตมัน

ในศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจในยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของอาณาจักรออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถาม (Eastern question) ว่าควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของอาณาจักรวรรดิออตโตมันหากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลยอำนาจ ในศตวรรษที่ 19 อาณาจักรออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรปฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัส ที่ 1 ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุลต่านออตโตมันบางพระองค์ในปีทรงพยายามที่จะปฏิรูประบบการเมืองแลเศรษฐกิจของอาณาจักรออตโตมันให้ทันสมัย ทัดเทียมอารยประเทศในยุโรป แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จอย่างจริงจัง เนื่องจากสงครามได้ปะทุขึ้นอย่างไม่ยุหย่อนทั่วดินแดนส่งผลให้จักรวรรดิออตโตมันต้องประสบกับปัญหาเศรษฐกิจอย่างหนัก

ในปี ค.ศ 1876 กลุ่มปัญญาชนซึ่งเรียกตนว่า เติร์กหนุ่ม (Young turks)ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และได้บีบให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองอาณาจักรออตโตมันมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขเป็นครั้งแรก รัฐธรรมนูญดังกล่าวประกาศใช้ได้เพียงปีเดียว ในปี ค.ศ. 1877 สุลต่านอับดุลฮามิด ที่ 2ได้ทรงยกเลิกรัฐธรรมนูญดังกล่าวในปี ค.ศ.1908 กลุ่มเติร์กหนุ่มได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮาบิด ที่2ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง ต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ได้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจ สุลต่านเมห์เมตที่5 ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดของกลุ่มเติร์กหนุ่มเท่านั้น Enver pasha ผู้นำเติร์กหนุ่มได้รวบอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี 1914 ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายเยอรมัน สงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงโดยเยอรมันเป็นฝ่ายผ่ายแพ้ อาณาจักรออตโตมันจึงตกเป็นฝ่ายแพ้สงครามด้วย ....