วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2565

อาณาจักรมองโกล อาณาจักรโมกุล


ทัชมาฮาลผลงานของอาณาจักรโมกุล
.... ในพุทธศตวรรษที่ 14 แคว้นปัญจาบต้องเผชิญหน้ากับการรุกรานครั้งใหญ่จากตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง เมื่อกองทัพอิสลามชาวเตอร์ก ชาวตาตาร์( ตาด ) บุกรุกเข้ามาสู่ลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ในแคว้นคันธาราฐและประชิดแคว้นปัญจาบ กษัตริย์ ชัยบาล (Jaibal) ราชวงศ์ซาหิยะของฮินดู ต้องทำสงครามกับแคว้นกลาสนี่ของชาวเตอร์กอิสลาม กษัตริย์ซาบัคติกิน (Sabuktigin) แห่งราชวงศ์กลาซนาวิค ได้ขยายอาณาเขตขับไล่ชาวฮินดูลงมาจนถึงลุ่มน้ำสินธุ จนเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 15 ปี กษัตริย์มาหมุด ( Mahmud ) ราชวงศ์กลาซนาวิด แห่งจักรวรรดิกลาสนี่ เข้ายึดเมืองเปษวาร์ ( บุรุษบุรี ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน ) ใช้เป็นฐานที่มั่นอันมั่นคงของพวกเตอร์กอิสลามเป็นครั้งแรก

มาหมุดสถาปนาจักรวรรดิกลาสนี่ ( Ghazni ) ขึ้นทางตอนใต้ของกรุงคาบูล และนำกองทัพอิสลามรุกรานเข้าสู่อินเดียเหนือ สามารถยึดพื้นที่อินเดียเหนือ ตั้งแต่ลุ่มน้ำสินธุ แคว้นปัญจาบจรดลุ่มน้ำยมุนา รวมทั้งแผ่นดินในลุ่มปัญจมหานทีทั้งหมด ศาสนาอิสลามเริ่มแพร่กระจายเข้าเข้าสู่คาบสมุทรอินเดียครั้งใหญ่ นอกจากนี้ มาหมุดยังได้ขยายอาณาเขตจักรวรรดิกลาสนี่ไปจรดเปอร์เซอร์และเมโสโปเตเมีย ระหว่างการทำสงครามระหว่างอิสลามและฮินดู มาหมุดได้เข้าทำลายศาสนสถานและผู้คนต่างศาสนาจำนวนมากมาย กองทัพอิสลามเข้าปล้นทำลายโบสถ์วิหารต่าง ๆ ทั้งในศาสนาฮินดูและพุทธจนพินาศย่อยยับ
(เจริญ สมัยกลาง 2508 ,531 - 533)

.... แต่ชนชาติต่าง ๆ ที่นับถือศาสนาอิสลามไม่อยู่ในฐานะที่จะเข้ามารวมกับวัฒนธรรมเดิม หรือศาสนาที่มีอยู่แล้ว เช่นชนอื่น ๆ เพราะอิสลามนั้นนอกจากจะมีวิถีชีวิตที่ศาสนาได้กำหนดไว้แน่นอนแล้ว

ในสมัยนั้นยังถือคติที่ไม่ยอมให้ผู้ที่อยู่ใกล้เคียงนับถือศาสนาอื่น นอกจากศาสดาของตนอีกด้วย อิสลามบางหมู่ที่เข้ามาจากทิศเหนือของอินเดีย ถือเอาประกาศศาสนาด้วยดาบ อันเป็นประเพณีของชนบางชาติที่นับถืออิสลาม มิใช่ประเพณีของอิสลามโดยแท้ เพราะอิสลามนั้นก็เป็นศาสนาแห่งสันติไม่น้อยไปกว่าศาสนาอื่น ฉะนั้นตั้งแต่พ.ศ. 1323 เป็นต้นมา

กองทัพของชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลามได้เคลื่อนเข้าสู่อินเดียเหมือนระลอกคลื่น แต่ละกองทัพที่เข้ามานั้นได้ฆ่าฟันฮินดูเสียมากต่อมาก ผู้ที่แพ้แล้วก็บังคับให้เข้ารีตอิสลามและได้ทำลายเทวสถานของฮินดูลงเสียหลักต่อหนัก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของอินเดียที่มีคนต่างชาติต่างศาสนาอพยพเข้ามาในประเทศ และเมื่อเข้ามาแล้ว ก็ไม่พอใจ เพียงแต่รักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและศาสนาของตนไว้เท่านั้น แต่ยังมีความปราถนาอันร้อนแรงที่จะบังคับให้คนอื่นที่อยู่ก่อนถือศาสนาและขนบธรรมเนียมประเพณีที่ตนนำเข้ามาใหม่นั้นอีกด้วย.......”
 (คึกฤทธิ์ 2507 ,373 - 374)

แคว้นปัญจาบตกอยู่ใต้การปกครองของชาวอิสลามเตอร์ก ราชวงศ์กลาสวานิคมานานก์อบ 200 ปี อิทธิพลของศาสนาอิสลามรวมทั้งวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวปัญจาบเปลี่ยนแปลงไปจากการผสมผสานและการครอบงำทางวัฒนธรรม ต่อมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 17 จักรวรรดิกลาสนี่ได้พ่ายแพ้สงครามต่อกษัตริย์อิสลามเตอร์กกลุ่มชาวกูริส (Ghorid)

ผู้สถาปนาราชวงศ์กอร์(Ghor) ขึ้นในแคว้นคันธาราฐ กองทัพกอร์ยกเข้ายึดแคว้นปัญจาบ ยึดเมืองเดลฮี (Delhi) เป็นฐานที่มั่นในการรุกรานเข้าสู่แคว้นพิหาร อ่าวเบงกอล จนกล่าวได้ว่าส่วนใหญ่ของอินเดียภาคเหนือตกอยู่ในมือของพวกมุสลิมทั้งหมดแล้ว ( เจริญ 2508 ,537 – 539 )

....ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูมาตั้งแต่ดั้งเดิมบังเกิดความรู้สึกตน รู้สึกหวงแหนในภาวะของตน ไม่ยอมให้คนอื่นมาเปลี่ยนแปลงในลักษณะบังคับ จึงได้เกิดมีการต่อต้านอิสลามขึ้นทั้งในทางทหารและทางปัญญา ......” (คึกฤทธิ์ 2507, 374 )


ในราวพุทธศตวรรษที่ 17 ผู้ศรัทธาในศาสนาฮินดู จึงได้ลุกฮือขึ้นต่อต้านชาวอิสลาม ก่อสงครามกับจักรวรรดิกอร์ มูหะหมัด กอรี กษัตริย์ของกอร์จึงยกกองทัพจากคันธาราฐ เข้าบดขยี้ชาวฮินดูจนราบคาบแต่พระองค์เองก็ต้องมาเสียชีวิต ณ ที่แคว้นปัญจาบนั้นเอง เมื่อสิ้นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ปกครองแคว้นต่าง ๆ ที่เป็นชาวอิสลามเตอร์ก ต่างเห็นฟ้องต้องกันที่จะยกให้ กัตบุคดิน ไอบัก(Kutbuddin Aibak) ขึ้นตำแหน่งเป็นสุลต่านเตอร์กแห่งเดลฮี ซึ่งได้กลายมาเป็นอาณาจักรอิสลามเดลฮี มีสุลต่านสืบทอดต่อกันมา 26 พระองค์ ( เจริญ 2508 ,450)

จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 แคว้นปัญจาบ ถูกรุกรานและครอบครองโดยชนเชื้อสายใหม่จากใจกลางทวีปอีกครั้งหนึ่ง เจงกีสข่าน ข่านแห่งชาวมองโกล นำกองทัพรุกรานลงสู่ภาคใต้และเข้าครอบครองจักรวรรดิกลาสนี่ นครเบคเตรีย เบคราม แคว้นคันธาราฐ เข้าสู่แคว้นปัญจาบ แคชเมียร์ เข้าประชิดแคว้นสุลต่านเดลฮี หยุดประชุมทัพ ที่นครตักสิลาริมแนวฝั่งน้ำสินธุไม่ได้รุกรานต่อ ทำให้ชาวเตอร์กกลุ่มอินเดียเหนือขาดการติดต่อสัมพันธ์กับชาวเตอร์กกลุ่มอัฟกานิสถาน เจงกีสข่านได้พัฒนาระบบชลประทานทดน้ำเข้าไปพลิกฟื้นดินให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ ในดินแดนทะเลทรายของอัฟกานิสถานเป็นครั้งแรก (วรณัย 2544 ,161)

ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ตาเมอร์เลน (Tamerlane) สุลต่านมองโกลที่เข้ารีตนับถือศาสนาอิสลาม ปกครองนครซามาร์คานด์ (Samarkand) ลุ่มแม่น้ำโอซุส ในประเทศอุชเบกีสถานในปัจจุบัน นำกองทัพมองโกลที่โหดเหี้ยมเข้าโจมตีแคว้นปัญจาบ และดินแดนในปกครองของเตอร์ก ในปี พ.ศ. 1941

กองทัพมองโกลของตาเมอร์เลน รุกไล่ทัพอิสลามชาวเตอร์กให้แตกพ่าย อาณาจักรเดลฮีถูกทำลายอย่างยับเยิน ประชาชนพลเมืองถูกสังหารมากมาย ส่วนที่รอดก็จะถูกจับตัวไปเป็นทาสจำนวนมาก สุลต่านมองโกลตาเมอร์เลน ยังยกทัพรุกรานต่อเข้าสู่ลุ่มแม่น้ำคงคา เข้าทำลายปล้น สดมภ์บ้านเรือนและแว่นแคว้นต่าง ๆ ในอินเดียเหนือ และเดินทางกลับโดยไม่ได้เข้ายึดครอง ทิ้งไว้แต่สภาพรกร้าง ซากปรักหักพังและปราศจากผู้คนที่มีชีวิต (เจริญ 2508 , 542 - 543)

ในช่วงพุทธศตวรษที่ 20 ชาวอิสลามมองโกลเข้ายึดครองแคว้นปัญจาบและอินเดียเหนืออีกครั้ง สถาปนาราชวงศ์โมกุล (Moghal) ขึ้นปกครองอินเดียเหนือโดยมีสูญกลางการปกครองที่นครเดลฮี ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2069 เป็นต้นมา

ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2012 – 2251 เป็นช่วงเวลาของการกำเนิดลัทธิความเชื่อใหม่ ที่เกิดขึ้นจากผสมผสานความเชื่อของศาสนาสามศาสนาของอินเดียเหนือในเวลานั้น คือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์ฮินดูและศาสนาอิสลาม

....เหตุพวกอิสลามตีอินเดียได้บางตอน มิใช่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแต่เฉพาะการเมือง ลัทธิประเพณีก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย เพราะพวกอิสลามถือว่า การทำลายล้างลัทธิบูชารูปเคารพต่าง ๆ ของคนนอกลัทธิมะหะหมัด เป็นการบุญกุศลอย่างแรง เพราะฉะนั้นเมื่อตีได้บ้านเมืองใด ก็ทำลายโบสถ์วัดศาลเทวาลัยและรูปเคารพเสียราบ ฆ่าฟันและขับไล่ภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาและนักบวชฮินดูไม่เลือกหน้า แล้วตั้งกฎเกณฑ์ข้อบังคับเฉียบขาด ห้ามกายที่ประชาชนบูชารูปเคารพต่าง ๆ ซ้ำเก็บภาษีรายตัวบุคคลที่ไม่ได้นับถือลัทธิมะหะหมัด การเมืองของพวกอิสลามดำเนินโดยวิธีอันทำให้ชาวฮินดูไม่มีโอกาสจะปฏิสังขรณ์หรือก่อสร้างสถานที่เคารพในลัทธิขึ้นได้ จนถึงรัชกาลของพระเจ้าอักพรมหาราชชาติมลคล ชาติฮินดูจึงค่อยมีเสรีภาพในที่จะปฏิบัติบูชาตามลัทธิ เพราะพระเจ้าอักพรเป็นธรรมมิกราช แม้จะทรงนับถือลัทธิมะหะหมัดก็จริงแต่ไม่ทรงหวงห้ามการที่ประชาชนจะเลือกนับถือลัทธิศาสนาตามความพอใจ ในอินเดียตลอดภาคเหนือที่ถูกพวกอิสลามมาย่ำแดน บรรดาถาวรวัตถุของฮินดูแต่โบราณต้องสาบสูญไป ที่มีซากเหลืออยู่พวกอิสลามก็รื้อย้ายขนหรือปลูกสร้างเป็นสุเหร่าขึ้น …“( เสฐียรโกเศศ 2500, 152 – 153 )

ลัทธิความเชื่อของฮินดูในช่วงเวลาของพระเจ้าอัคบาร์มหาราช ( Akbar The Great )หรือพระเจ้าอักพรมหาราช แห่งราชวงศ์โมกุลแห่งเดลฮี แบ่งออกเป็นสามนิกายใหญ่ คือนิกายถือพระราม นิกายถือพระกฤษณะ และนิกายถือพระเป็นเจ้าองค์เดียว ทั้งสามนิกายมีข้อวัตรปฏิบัติและความเชื่อถือที่คล้ายคลึงกัน

เวบไซต์แรกของโลกคือเวบอะไร?


คุณรู้ไหม..เวบไซต์แรกของโลกคือเวบอะไร?ลองเปิดไปนี่สิครับ..http://info.cern.ch/

ประโยคแรกบนจอที่คุณเห็นคือ
Welcome to info.cern.ch
the website of the world's first-ever web server
ครับผม..นี่คือเวบไซต์แรกของโลก

http://info.cern.ch/ เปิดตัวครั้งแรกบนโลกไซเบอร์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 เวบไซต์นี้ สร้างโดย เซอร์ทิโมที จอห์น เบอร์เนิร์ส-ลี (Sir Timothy John Berners-Lee, OM, KBE, FRS, FREng, FRSA) ซึ่งคนทั้งโลก(กระมัง) รู้จักในนาม ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ผู้คิดและพัฒนาระบบ เวิลด์ไวด์เว็บ (WorldWideWeb หรือ www) เป็นคนแรกของโลก

ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี เกิดในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
เป็นบุตรของนายคอนเวย์ เบอร์เนิร์ส-ลี และนางแมรี ลี วูดส์ 2 นักคณิตศาสตร์ ผู้อยู่ในทีมสร้างคอมพิวเตอร์ "แมนเชสเตอร์ มาร์ก 1" ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ยุคแรกของโลก

ช่วงเดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2523 ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ทำงานเป็น Freelance อยู่ที่เซิร์น (Cern หรือ European Organization for Nuclear Research) และเขาเสนอโครงการ "ข้อความหลายมิติ" (Hypertext) ขึ้นเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักวิจัยด้วยกัน โดยมีการเริ่มสร้างระบบต้นแบบไว้แล้ว ในชื่อ ENQUIRE

ทั้งนี้ ในปี 2532 เซิร์น ถือเป็นศูนย์อินเทอร์เน็ตที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป และเบอร์เนิร์ส-ลีได้เล็งเห็นโอกาสในการใช้ "ข้อความหลายมิติ" ผนวกเข้ากับอินเทอร์เน็ต
เขาเขียนไว้ในข้อเสนอโครงการของเขาเมื่อเดือนมีนาคม 2532 ว่า "...ผมเพียงเอาความคิดเรื่องข้อความหลายมิตินี้เชื่อมต่อเข้ากับความคิด "ทีซีพี" และ "DNS" และเท่านั้นก็จะได้
"เวิลด์ไวด์เว็บ.."
ในปี 2533 โรเบิร์ต ไคลิยู ก็เข้ามาช่วยปรับร่างโครงการให้ ซึ่ง เบอร์เนิร์ส-ลี ได้ใช้ความคิดเดียวกับระบบเอ็นไควร์มาใช้สร้างเวิลด์ไวด์เว็บ โดยได้ออกแบบและสร้างเว็บเบราว์เซอร์และเอดิเตอร์ตัวแรก เรียกว่า WorldWideWeb และพัฒนาด้วย NEXTSTEP เรียกว่า httpd ซึ่งย่อมาจาก HyperText Transfer Protocal Deamon

ประวัติศาสตร์อินเตอร์เน็ต บันทึกไว้ว่า เว็บไซต์แรกสุดที่เซิร์นนำขึ้นออนไลน์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2534 โดยให้คำอธิบายว่าเวิลด์ไวด์เว็บคืออะไร การที่จะเป็นเจ้าของเบราว์เซอร์ทำได้อย่างไร และจะติดตั้งเว็บเซิร์บเวอร์ได้อย่างไร
จากนั้น เบอร์เนิร์ส-ลี ก็ให้ความคิดแก่ทุกคนและทุกองค์กรโดยไม่คิดมูลค่า เขาไม่เคยจดทะเบียนลิขสิทธิ์การค้นคิดของเขาเลย รวมทั้งไม่เรียกค่าตอบแทนหรือรางวัลอื่นใดจากใคร นอกจากเงินเดือนปกติ ดังนั้น กลุ่มบริษัทเวิลด์ไวด์เว็บจึงตัดสินใจไม่คิดมูลค่าใดๆ จากการนำมาตรฐานของกลุ่มบริษัทไปใช้ เพื่อให้ผู้ประกอบการทุกรายยอมรับมาตรฐานเดียวกันได้บนพื้นฐานทางเทคโนโลยี ไม่ใช่พื้นฐานค่าสิขสิทธิ์ถูกหรือแพง

จึงไม่ใช่เรื่องแปลกประหลาด ที่ในปี 2548 ทิม เบอร์เนิร์ส-ลี ได้รับยกย่องจากนิตยสาร Time ให้เป็น 1 ใน 100 บุคคลที่ทรงอิทธิพลของศตวรรษที่ 20

นอกจากนั้น ในวันที่ 13 มิถุนายน 2550 เขาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ฝ่ายหน้า จากสมเด็จพระบรมราชินีเอลิซาเบธที่ 2 เป็นการส่วนพระองค์(ทิมจึงมีคำว่า"เซอร์"น้ำหน้าชื่อ) ซึ่งนับถึงวันนี้ คนที่ได้รับเครื่องราชนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่ มีเพียง 24 คนเท่านั้น


ว่างๆ ลองเปิด http://info.cern.ch เว็บไซต์แห่งแรกของโลกนะครับ

นางสาวไทย คนแรกของประเทศไทย


นางสาวไทย คนแรกของประเทศไทย นางสาวไทย คนแรกของประเทศไทย

(นางสาวไทยคนแรกของประเทศไทย)

กันยา เทียนสว่าง คือหญิงไทยคนแรก ที่ได้รับตำแหน่ง นางสาวสยาม ซึ่งต่อมาจึงมีการเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเป็น นางสาวไทย ในเวลาต่อมา
ประวัติ ของ นางสาวไทย คนแรกของประเทศไทย
•เธอมี ชื่อ - สกุล จริงว่า เจียเป็งเซ็ง มีชื่อเล่นว่า ลูซิล
•เป็นบุตรคนโต จาก 5 คน ของ นายสละ และนางสนอม
•เธอเกิดวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2457 ที่บ้านปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
•เธอได้รับการสนับสนุนจากน้าชายให้เข้าประกวด นางสาวสยาม ในปี 2477 ด้วยวัย 21 ปี (ซึ่งก่อนเข้าประกวดเธอมีอาชีพเป็น ครูอยู่ใน โรงเรียนประชาบาลทารกานุเคราะห์ ) และเธอก็ได้รับตำแหน่ง นางสาวสยาม คนแรกของประเทศไทย
•การประกวด นางสาวสยาม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของงานฉลองรัฐธรรมนูญที่ใช้เป็นปีที่ 2
•ส่วนของรางวัลที่ได้รับนั้นมีดังต่อไปนี้ มงกุฎ ทำด้วยผ้ากำมะหยี่ปักดิ้นเงิน ประดับโครงเงินและเพชร , ขันเงินสลักชื่อ "นางสาวสยาม ๗๗" , ล็อกเก็ตห้อยคอทองคำ , เข็มกลัดทองคำลงยา อักษรว่า "รัฐธรรมนูญ ๗๗" และ เงินสด 1,000 บาท

•ภายหลังพ้นจากตำแหน่ง ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติ ได้พบกับ ด็อกเตอร์สุจิต หิรัญพฤกษ์ ที่ทำงานอยู่กระทรวงต่างประเทศ และแต่งงานกันเมื่อ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2486
•หลังจากแต่งงาน มีบุตร ธิดาด้วยกัน 5 คน
•เธอป่วยเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก และเสียชีวิตลง
เมื่อ วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2503 ในวัย 46 ปี
ข้อมูลอ้างอิง นางสาวไทย คนแรกของประเทศไทย

•http://th.wikipedia.org/wiki/กันยา_เทียนสว่าง

หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของโลก

หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของโลก 
( First newspaper 
in World )

Relation รีเลชั่น หรือชื่อเต็มว่า " Relation aller Fürnemmen und gedenckwürdigen Historien" ถือว่าเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ที่ทำการตีพิมพ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง ไม่พิมพ์หยุดๆ ฉบับแรกของโลก

ที่ใช้เทคโนโลยี่การพิมพ์จากแท่นพิมพ์ ได้ทำการจัดพิมพ์ที่เมือง Strassburg ประเทศเยอรมันนี ( Germany ) ในปี ค.ศ. 1605 จึงนับเป็นการตีพิมพ์ หนังสือพิมพ์ สมัยใหม่ ครั้งแรกในโลกActa Diurna คือจุดเริ่มต้น ของพัฒนาการของหนังสือพิมพ์ครั้งแรกที่มีบันทึกพอจะสืบค้นได้

โดยเริ่มตั้งแต่ ก่อนคริสต์กาล 59 ปีในยุคของพระเจ้าจูเรียสซีซาร์(Julius Caesar)
โดยใช้ชื่อที่เรียกว่า
" The Roman Acta Diurna"
ใช้การเขียนข้อความลงบนกระดานขนาดใหญ่ นำำไปตั้งไว้ในแหล่งชุมนุมชน ทำกันเป็นกิจลักษณะกันทีเดียว
คือ มีข่าวสาร Update กันทุกวันทีเดียว เพื่อแจ้งข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวของรัฐบาล โครงการณ์ด้านการทหาร การพิจารณาคดี และการลงโทษ ทรามาน ต่างๆ ให้แก่ชาวโรมัน ในกรุง โรม

หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของอังกฤษ เกิดขึ้นในปี 1665 ในชื่อหนังสือพิมพ์ " Oxford Gazette " โดยมีลักษณะการพิมพ์เป็นแบบ 2 คอลัมน์ในช่วงแรก

หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของทวีปอเมริกา เกิดขึ้นในปี 1690 ในชื่อหนังสือพิมพ์ " Boston "

หนังสือพิมพ์ ฉบับแรกของประเทศไทย เกิดขึ้นวันที่ 1 มีนาคม 1865 ในชื่อหนังสือพิมพ์ว่า หนังสือจดหมายเหตุฯ
( Bangkok Recorder )
โดยออกเป็นรายปักษ์ความหนาจำนวน 8 หน้า
ด้วยยอดพิมพ์ 300 ฉบับ