วันพุธที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา ฟังชื่อแล้วก็รู้สึกแปลกๆปลาทูน่าเขี้ยวหมา


หวังว่าทุกคนคงรู้จักปลาทูนะครับหรือปลาทูน่าวันนี้เราจะมานำเสนอปลาทูน่าเขี้ยวหมา ฟังชื่อแล้วก็รู้สึกแปลกๆปลาทูน่าเขี้ยวหมา😂

ไม่ต้องชักช้ารอนานมาเข้าเรื่องเข้าราวของปลาทูน่าชนิดนี้กันเลยดีกว่านะครับปลาทูน่าเขี้ยวหมา


ปลาทูน่าเขี้ยวหมา

ปลาทูน่าเขี้ยวหมาในเฟรนช์พอลินีเชีย
สถานะการอนุรักษ์

ปลาทูน่าเขี้ยวหมา หรือ ปลาโอฟันหมา (อังกฤษ: Dogtooth tuna, Scaleless tuna; ชื่อวิทยาศาสตร์: Gymnosarda unicolor) ปลาทะเลชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอินทรี (Scombridae)

จัดเป็นปลาโอ หรือปลาทูน่าชนิดหนึ่ง ที่มีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นในสกุล Gymnosarda


มีรูปร่างเพรียวยาวเป็นทรงกระสวยหรือตอร์ปิโดป้อม ครีบหลังตอนท้ายคล้ายกับของปลาทู ครีบหางเว้าลึก โคนครีบมีสันเล็ก ๆ ผิวเรียบ บริเวณครีบอกมีแถบเกล็ดหนา ครีบอกมีขนาดเล็ก ลำตัวสีเงินอมฟ้า มีลายเส้นสีคล้ำที่ด้านท้าย ด้านท้องสีจาง ครีบสีคล้ำ

มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 100 เซนติเมตร หรือ 1 เมตร โตเต็มที่ได้ถึง 160 เซนติเมตร หรือ 1.6 เมตร


เป็นปลาที่อาศัยอยู่ลำพังเพียงตัวเดียวหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในระดับกลางน้ำในทะเลเปิดในแนวปะการังที่ค่อนข้างลึก หรือข้างเกาะ พบกระจายพันธุ์ในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ในน่านน้ำไทยพบได้เฉพาะฝั่งทะเลอันดามัน เป็นปลาที่พบได้น้อย


นิยมตกเป็นเกมกีฬา และบริโภคเป็นปลาเศรษฐกิจ

วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

นักวิทยาศาสตร์ชี้ การค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก "ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้น"


ดวงจันทร์ยูโรปา (Europa) หนึ่งในบริวารของดาวพฤหัสบดี เชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตต่างดาวอาศัยอยู่

ปัจจุบัน บรรดานักดาราศาสตร์เลิกตั้งคำถามไปนานแล้วว่า มีสิ่งมีชีวิตอื่นในจักรวาลหรือไม่ เพราะคำถามในเวลานี้ คือ เมื่อไหร่เราจะค้นพบสิ่งมีชีวิตนอกโลก

หลายคนยังคงมองโลกในแห่งดีว่า ในช่วงชีวิตนี้ มนุษยชาติอาจจะค้นพบสัญญาณชีวิตจากโลกอันไกลโพ้นได้ และอาจเป็นไปได้ที่จะค้นพบในเวลาเพียงไม่กี่ปีนับจากนี้

ในจำนวนนั้น คือ นักวิทยาศาสตร์ ผู้นำภารกิจสำรวจดาวพฤหัสบดี ถึงกับกล่าวว่า "คงน่าประหลาดใจ" หากไม่พบสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์น้ำแข็งของดาวพฤหัสบดีเลย

เมื่อไม่นานมานี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์เว็บบ์ (JWST) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือ นาซา (NASA) ได้ตรวจพบเบาะแสความเป็นไปได้ว่า จะมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์นอกระบบสุริยะ

เจมส์เว็บบ์ ยังกำลังสำรวจความเป็นไปได้เดียวกันนี้ บนดาวเคราะห์อีกหลายแห่งด้วย

นักวิทย์ตะลึงเมื่อ พบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานโบราณใต้น้ำคล้าย "มังกร"


นักวิทย์ตะลึงเมื่อ พบฟอสซิลสัตว์เลื้อยคลานโบราณใต้น้ำคล้าย "มังกร"

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในสกอตแลนด์ เปิดเผยการค้นพบซากฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานในน้ำขนาด 5 เมตร ที่มีอยู่อายุเก่าแก่ถึง 240 ล้านปี ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) โดยสัตว์เลื้อยคลานโบราณตัวนี้ได้รับการขนานนามว่า "มังกร" เนื่องจากลักษณะของคอที่มีความยาวอย่างมาก

สัตว์เลื้อยคลานโบราณที่อาศัยอยู่ในน้ำตัวนี้ มีชื่อว่า ไดโนเซฟาโลซอรัส โอเรียนทัลลิส
(Dinocephalosaurus orientalis) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ถูกค้นพบเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2003

ฟอสซิลดังกล่าว ถูกค้นพบในแหล่งหินปูนโบราณทางตอนใต้ของจีน ฟอสซิลใหม่ที่น่าทึ่งนี้ ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเห็นกายวิภาคของสัตว์โบราณแปลกประหลาดในยุคก่อนประวัติศาสตร์

ดร.นิก เฟรเซอร์ จากพิพิธภัณฑ์แห่งชาติสกอตแลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมนักวิจัยผู้ศึกษาซากฟอสซิล เปิดเผยว่า นี่เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์แบบเต็มตัวของสัตว์ที่เขาอธิบายว่าคือ "สัตว์ที่แปลกประหลาดอย่างมาก"

"มันมีแขนขาเหมือนตีนกบ และคอของมันมีความยาวกว่าลำตัวและหางรวมกัน" ดร.เฟรเซอร์ ระบุ

หาก “อวกาศ” ไม่มี “ออกซิเจน ” แล้ว “ดวงอาทิตย์” ติดไฟได้อย่างไร


หาก “อวกาศ” ไม่มี “ออกซิเจน ” แล้ว “ดวงอาทิตย์” ติดไฟได้อย่างไร

แต่ด้วยกระบวนการ ‘นิวเคลียร์ฟิวชั่น’ ภายในดวงดาว ดวงอาทิตย์จึงส่องสว่างและร้อนแรงได้นานนับหมื่นล้านปี 

นิวเคลียร์ฟิวชั่นในแต่ละวินาทีจะแปลงธาตุไฮโดรเจน 700,000,000 ตันเป็นฮีเลียม 695,000,000 ตัน และปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบรังสีแกมมา ซึ่งจะกลายเป็นแสงในที่สุด และขั้นตอนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจน มันต้องการเพียงแค่อุณหภูมิและแรงกดดันที่สูงอย่างไม่น่าเชื่อ


“มวลมหึมาของดวงอาทิตย์ถูกดึงดูดเข้าหากันด้วยแรงโน้มถ่วง ทำให้เกิดความดันและอุณหภูมิมหาศาลที่แกนกลางของมัน” นาซา (NASA) อธิบายผ่านเว็บไซต์ “ณ ที่แกนกลาง อุณหภูมิอยู่ที่ 15 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งเพียงพอต่อการคงปฏิกิริยาฟิวชั่นที่รุนแรงไว้ได้”

อ่านเพิ่มเติม   :     https://ngthai.com/science/53434/sun-flare/

แปลกแต่จริงเมื่องานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์


แปลกแต่จริงเมื่องานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์

การศึกษาฉบับใหม่ พบว่า ลิงในวงศ์ลิงใหญ่ (Great Apes) อย่างชิมแปนซี กอริลลา อูรังอูตัง และลิงโบโนโบ หยอกล้อกับลิงตัวอื่นในแบบเดียวกันกับที่มนุษย์ในวัยเด็กทำ

อิซาเบล เลาเมอร์ นักวิจัยจากสถาบันพฤติกรรมสัตว์ Max Plank Institute of Animal Behaviour อธิบายกับรอยเตอร์ว่า การแกล้งกันของลิง มีทั้งการแอบไปทำให้ลิงตัวอื่นตกใจจากด้านหลัง หรือทุบตี รวมถึงดึงผมหรือชูสิ่งของใส่หน้าลิงอีกตัว

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Proceedings of the Royal Society B โดยทีมผู้วิจัยได้เผยแพร่วิดีโอที่แสดงให้เห็นลิงวัยรุ่นในวงศ์ลิงใหญ่ กำลังแกล้งสมาชิกฝูงตัวอื่น เช่นลิงชิมแปนซีที่สวนสัตว์ไลป์ซิก ที่แกล้งลิงที่โตเต็มวัยเพศเมียด้วยการเข้าไปชน ทุบตีที่หลังอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะวิ่งหนี แล้วหันกลับมามองดูว่าลิงเพศเมียมีท่าทีอย่างไร

เลาเมอร์กล่าวว่า เธอรู้สึกทึ่งกับพฤติกรรมของลิง ที่หันกลับมามองว่าผู้ถูกแกล้งมีท่าทีอย่างไร โดยระบุว่า “มันน่าสนใจจริง ๆ ในแง่ที่ลิงไม่ได้แค่ลงมือแกล้ง แต่มันยังรอคอยการตอบสนอง มันคาดหวัง (ที่จะเห็น) ใบหน้าของเป้าหมาย”

การหยอกล้อกันในหมู่มนุษย์ สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุดเมื่อมีอายุ 8 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วกว่าการเริ่มที่จะพูดได้เสียอีก โดยทั่วไปการหยอกล้อมักจะเป็นการทำท่าจะยื่นของบางอย่างให้พ่อแม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนใจเก็บของนั้นไว้กับตัว

การหยอกล้อในหมู่ลิงมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในแง่ที่มีทั้งการยั่วยุ การเซ้าซี้ และมีท่าทีในลักษณะหยอกเอินและทำในสิ่งที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง

ทีมวิจัยกล่าวว่า แม้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนี้อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีงานศึกษาของเจน กู๊ดออล และนักวานรวิทยารายอื่นที่ระบุถึงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ลิงในวงศ์ลิงใหญ่มีพฤติกรรมการหยอกล้อที่คล้ายมนุษย์ ก็เป็นไปได้ว่าต้นกำเนิดของสิ่งที่วิวัฒนาการมาเป็นการสร้างอารมณ์ขำขันในมนุษย์ อาจมีที่มายาวนานอย่างน้อย 13 ล้านปี ในช่วงที่คาดว่าวงศ์เชื้อสายมนุษย์กับลิงยังไม่แยกขาดจากกันงานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์


การศึกษาฉบับใหม่ พบว่า ลิงในวงศ์ลิงใหญ่ (Great Apes) อย่างชิมแปนซี กอริลลา อูรังอูตัง และลิงโบโนโบ หยอกล้อกับลิงตัวอื่นในแบบเดียวกันกับที่มนุษย์ในวัยเด็กทำ

อิซาเบล เลาเมอร์ นักวิจัยจากสถาบันพฤติกรรมสัตว์ Max Plank Institute of Animal Behaviour อธิบายกับรอยเตอร์ว่า การแกล้งกันของลิง มีทั้งการแอบไปทำให้ลิงตัวอื่นตกใจจากด้านหลัง หรือทุบตี รวมถึงดึงผมหรือชูสิ่งของใส่หน้าลิงอีกตัว

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Proceedings of the Royal Society B โดยทีมผู้วิจัยได้เผยแพร่วิดีโอที่แสดงให้เห็นลิงวัยรุ่นในวงศ์ลิงใหญ่ กำลังแกล้งสมาชิกฝูงตัวอื่น เช่นลิงชิมแปนซีที่สวนสัตว์ไลป์ซิก ที่แกล้งลิงที่โตเต็มวัยเพศเมียด้วยการเข้าไปชน ทุบตีที่หลังอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะวิ่งหนี แล้วหันกลับมามองดูว่าลิงเพศเมียมีท่าทีอย่างไร

เลาเมอร์กล่าวว่า เธอรู้สึกทึ่งกับพฤติกรรมของลิง ที่หันกลับมามองว่าผู้ถูกแกล้งมีท่าทีอย่างไร โดยระบุว่า “มันน่าสนใจจริง ๆ ในแง่ที่ลิงไม่ได้แค่ลงมือแกล้ง แต่มันยังรอคอยการตอบสนอง มันคาดหวัง (ที่จะเห็น) ใบหน้าของเป้าหมาย”

การหยอกล้อกันในหมู่มนุษย์ สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุดเมื่อมีอายุ 8 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วกว่าการเริ่มที่จะพูดได้เสียอีก โดยทั่วไปการหยอกล้อมักจะเป็นการทำท่าจะยื่นของบางอย่างให้พ่อแม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนใจเก็บของนั้นไว้กับตัว

การหยอกล้อในหมู่ลิงมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในแง่ที่มีทั้งการยั่วยุ การเซ้าซี้ และมีท่าทีในลักษณะหยอกเอินและทำในสิ่งที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง

ทีมวิจัยกล่าวว่า แม้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนี้อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีงานศึกษาของเจน กู๊ดออล และนักวานรวิทยารายอื่นที่ระบุถึงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ลิงในวงศ์ลิงใหญ่มีพฤติกรรมการหยอกล้อที่คล้ายมนุษย์ ก็เป็นไปได้ว่าต้นกำเนิดของสิ่งที่วิวัฒนาการมาเป็นการสร้างอารมณ์ขำขันในมนุษย์ อาจมีที่มายาวนานอย่างน้อย 13 ล้านปี ในช่วงที่คาดว่าวงศ์เชื้อสายมนุษย์กับลิงยังไม่แยกขาดจากกัน