วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2567

Mirny เหมือง นรก ในไซบีเรียตะวันออก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเหมืองเพชรที่ลึกที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก


เหมือง Mirny ในไซบีเรียตะวันออก ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็นเหมืองเพชรที่ลึกที่สุดเป็นอันดับสี่ของโลก โดยมีความลึกมากกว่า 525 เมตร และกว้าง 1,200 เมตร 


ถือเป็นความมหัศจรรย์ทางวิศวกรรมของมนุษย์ สามารถดูดเครื่องบินขนาดเล็กและเฮลิคอปเตอร์ได้ เหตุการณ์น้ำท่วมอันน่าสลดใจในปี 2560 ส่งผลให้คนงานหลายร้อยคนติดอยู่ และบางคนถึงกับเสียชีวิตอย่างน่าสลดใจ 

หลุมขนาดยักษ์บนพื้นนี้ยังตั้งอยู่ใกล้กับเมืองในไซบีเรียอีกด้วย แม้จะมีอดีตที่หลอกหลอน แต่ก็ยังมีแผนล้ำสมัยที่จะ เปลี่ยนหลุมร้างให้กลายเป็นเมืองใหม่....



วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2567

เรื่องแปลกแต่จริงของ Corset ชุดรัดเอวเข้ารูปในซีรีส์ Bridgerton จารีตชนชั้นสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพมากๆ


(ซ้าย) ภาพการสวมใส่ corset จากคลิปตัวอย่างซีรีส์ Bridgerton โดย Netflix (ขวา) โมเดลสตรีสวม corser ในยุค 1898 


เรื่องแปลกแต่จริงของ Corset ชุดรัดเอวเข้ารูปในซีรีส์ Bridgerton จารีตชนชั้นสูงที่ส่งผลต่อสุขภาพมากๆ


ซีรีส์ Bridgerton ใน Netflix เป็นอีกหนึ่งผลงานซีรีส์โรแมนติกในบรรยากาศย้อนยุคที่ดัดแปลงมาจากนิยายของนักเขียนหญิงซึ่งประสบความสำเร็จ 

ได้รับความนิยมในหลายประเทศรวมถึงไทยด้วย ในซีรีส์ฉายให้เห็นภาพสังคมชนชั้นสูงและสะท้อนวิถีชีวิตจนถึงแนวคิดของผู้คนในสมัยนั้น อย่างไรก็ตาม ในซีรีส์ยังมีรายละเอียดบางจุดที่ดูไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงอยู่บ้าง

องค์ บรรจุน ผู้เขียนบทความ “ความงามตามอุดมคติของผู้หญิงมอญ, จีน ยุโรป และอื่น” ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับกุมภาพันธ์ 2559 อธิบายชุดชั้นในประเภทนี้ไว้ว่า

“เดอะ คอร์ซิท (The Corset) เสื้อยกทรงรัดรูปหรือชุดชั้นในผู้หญิง เป็นที่ (ถูกบังคับให้) นิยมในช่วงศตวรรษที่ 19 ด้วยมีจารีตที่กำหนดให้ผู้หญิง ‘ดี’


โดยเฉพาะผู้หญิงชั้นสูงในสังคมฝรั่งเศสเมื่อศตวรรษที่ 19 ต้องสวมเพื่อให้สะโพกและหน้าอกเข้ารูป อกตั้ง เอวคอดกิ่วตามความนิยม ไม่เช่นนั้นจะถือว่าหญิงผู้นั้นสกปรก ต่ำต้อย ไร้มารยาท ขาดศีลธรรม ซึ่งการใส่คอร์ซิทต้องรัดแน่นขนาดทำให้ผู้สวมใส่ปวดชา กระดูกผิดรูป อวัยวะเครื่องในจะถูกเคลื่อนย้ายลงมาถึงก้น

ทั้งเป็นสาเหตุให้การไหลเวียนของเลือดในร่างกายผิดปกติ ในปี 1903 มีผู้หญิงที่เสียชีวิตทันทีจากการสวมเสื้อชนิดนี้ที่ทำจากเหล็กซึ่งกระแทกหัวใจ ก่อนที่จะถูกดัดแปลงให้เหมาะสมมาเป็นชุดชั้นอย่างในยุคปัจจุบัน”

คนยุคปัจจุบันมักจดจำ “เสื้อยัดทรงรัดรูป” หรือที่ศัพท์ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Corset เป็นภาพของสตรีผู้สวมใส่ในสภาพเอวคอดกิ่ว สภาพของสตรีเหล่านี้ปรากฏในภาพถ่ายเก่าหลายชิ้น และถูกโลกบันเทิงยุคหลังหยิบยกมาถ่ายทอดบอกเล่าในเนื้อหาของภาพยนตร์หรือซีรีส์หลายเรื่อง ผลงานล่าสุดที่ปรากฏฉากสวมใส่ corset คือในซีรีส์ Bridgerton ตั้งแต่ฉากเปิดเรื่อง

ช่วงเปิดเรื่องของซีรีส์ บรรยายบริบทของเนื้อเรื่องว่าเกิดขึ้นในช่วงค.ศ. 1813 ที่จัตุรัสโกรสเวอเนอร์ (Grosvenor Square) เมื่อมาถึงช่วงเวลาแห่งการเข้าสังคม ครอบครัวบารอน เฟเธอริงตัน (Baron Featherington) ลูกสาวของบ้านนี้ทั้ง 3 คนอยู่ในห้วงเวลาหาคู่ครอง ฉากเริ่มของซีรีส์ (ปรากฏอยู่ในคลิปตัวอย่างของซีรีส์ด้วย) ฉายภาพลูกสาวคนหนึ่งกำลังถูกแม่บ้านและผู้ช่วยล้อมรอบช่วยกันใส่ corset รัดเชือกด้านหลังให้แน่นกันอย่างขะมักเขม้น แต่สภาพของผู้กำลังถูกสวมใส่กลับดูกระอักกระอ่วน น่าอึดอัด

ฉากเหล่านี้ไม่เพียงแค่เป็นการบอกเล่าในเชิงกายภาพเท่านั้น หากเป็นส่วนหนึ่งของการบอกเล่าเป็นนัยถึงบทบาทของสตรีในสังคมซึ่งถูกจำกัดด้วยปัจจัยต่างๆ แต่เมื่อพูดถึงในบริบทที่ซีรีส์นี้อ้างอิงถึงว่าเป็นช่วงต้นศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1813) จริงอยู่ที่สิทธิสตรีในช่วงเวลานั้นถูกจำกัด อย่างไรก็ตาม เครื่องแต่งกายของสตรีไม่ใช่เหตุผลหลักของการจำกัดสิทธิ

ฮิลารี เดวิดสัน (Hilary Davidson) นักประวัติศาสตร์ผู้ศึกษาเรื่องเครื่องแต่งกายและผู้เขียนหนังสือ Dress in the Age of Jane Austen อธิบายไว้ว่า corset ชิ้นแรกๆ ปรากฏขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ตอบสนองต่อแฟชั่นสตรีซึ่งเริ่มก่อตัวขึ้นเป็นรูปเป็นร่างขึ้น corset ที่มีใช้กระดูกวาฬ หรือไม้บางชนิดเข้ามาด้วย ถูกใช้เพื่อทำให้สัดส่วนร่างกายของสตรีมีรูปทรงคล้ายโคนซึ่งกำลังเป็นที่นิยม ซึ่งอันที่จริงแล้ว สุภาพสตรีก็ไม่ได้จำเป็นต้องใช้ corset เพียงชิ้นเดียวเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ เดวิดสัน เล่าว่า พวกเธอใช้ของอื่นมาเสริม อาทิ ห่วง (hoop) มาเสริมเพื่อให้สัดส่วนรูปทรงใต้สะโพกกว้างขึ้น (คลิกชมภาพตัวอย่าง)

ลักษณะของแฟชั่นดังกล่าวนี้ยังคงอยู่กระทั่งถึงยุค “รีเจนซี่” (Regency Era) ของช่วงต้นทศวรรษ 1800s ในช่วงเวลา 20 ปี แฟชั่นสตรีมีทางเลือกหลากหลายชนิด อาทิ stay (ชุดกระชับสัดส่วน), ชุดชั้นในที่มีโครง ซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของ corset ในยุคปัจจุบัน อันที่จริงแล้ว ชุดชั้นในเหล่านี้ถูกรับรู้ว่าเป็นแค่เครื่องแต่งกายอีกชิ้นเท่านั้น สุภาพสตรีมีทางเลือกสำหรับแต่งกายมากมาย ยกตัวอย่างเทียบเคียงให้เห็นภาพคือ สมัยนี้ก็มีตั้งแต่สปอร์ตบรา จนถึงบราแบบต่างๆ แต่ละคนมีตัวเลือกสวมใส่สิ่งที่คิดว่าสะดวกและสบายสำหรับกิจวัตรของแต่ละคน ผู้หญิงที่ทำงานอาจสวมใส่ชุดชั้นในที่มีโครงรองรับ เพราะหากสวม corset อาจส่งผลให้เกิดอาการหมดสติได้ง่าย

เดวิดสัน มองว่า มายาคติเรื่องผู้หญิงต้องใส่เครื่องแต่งกายที่ไม่สบายตัวและไม่สามารถเลือกได้อันเป็นผลมาจากความเป็น “ปิตาธิปไตย” เป็นเรื่องที่น่าสะทกสะท้อน มุมมองนี้ยังคงอยู่มายาวนาน แต่เดวิดสัน แสดงความคิดเห็นว่า ผู้หญิงไม่ได้ไร้ความคิดขนาดนั้น กระทั่งช่วงยุควิคตอเรียน อันหมายถึงช่วงค.ศ. 1837-1901 (ภายหลังจากยุคของ Bridgerton) corset ถึงเริ่มกลายมาเป็นรูปทรง “นาฬิกาทราย” ซึ่งมักเป็นรูปทรงที่ผู้คนคิดว่าสวมใส่แล้วอึดอัด

แต่ต้องยอมรับว่า มีสตรีบางรายในยุค “รีเจนซี่” หรือยุคอื่นๆ ที่รัดเชือกของ corset มากเกินกว่าพอเหมาะจนกลายเป็นรู้สึกอึดอัด หรืออาจถึงระดับกระทบสุขภาพ เชื่อว่า ที่ต้องทำแบบนี้เพื่อเข้าสังคมหรือเพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ตัวอย่างเช่นฉากสวม corset ในภาพยนตร์คลาสสิกอย่าง Gone With the Wind ซึ่งตัวละครสการ์เล็ต โอฮาร่า (Scarlett O’Hara) ยังไม่ได้แต่งงานและต้องพยายามสร้างความประทับใจ

สำหรับในเรื่อง Bridgerton ซึ่งยังอยู่ในยุค “รีเจนซี่” มารดาในครอบครัวเฟเธอริงตัน ยืนกรานให้ลูกสาวของเธอมีเอวคอด (สำหรับช่วงหาคู่ครอง) ยังเป็นเรื่องที่สอดคล้องเป็นเหตุเป็นผลอยู่ แต่ในยุครีเจนซี่ corset ยุคนี้ทำจากผ้า cotton เนื้อนิ่ม แฟชั่นในยุคนี้ ชุดของสุภาพสตรีมีลักษณะคลุมตั้งแต่หน้าอกลงมา จึงไม่มีประโยชน์ที่จะรัดเชือก corset ให้ตึง (ดังฉากเปิดของซีรีส์) เพื่อให้ได้เอวคอด

เดวิดสัน วิจารณ์ว่า ไอเดียการรัดเชือก corset ให้ตึงไม่ได้ให้ประโยชน์ใดๆ และไม่สอดคล้องกับแฟชั่นสตรียุคนั้น ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ corset และ stay ในยุครีเจนซี่ไม่ได้มีเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดร่องเนินตามที่คนยุคโมเดิร์นคิดว่าเป็นสิ่งที่น่าดึงดูด แต่เป้าหมายในยุคนั้นคือเพื่อยกกระชับและแยกหน้าอก เปรียบเทียบได้กับ “ลูกโลกสองลูก” ออกจากกัน เดวิดสัน วิจารณ์ corset ในซีรีส์ Bridgerton ว่าไม่ได้ยกกระชับสัดส่วนด้านหน้าของผู้หญิงมากนัก


อย่างไรก็ตาม Rachel Kaufman คอลัมนิสต์ของ Smithsonian มองว่า ซีรีส์ Bridgerton สะท้อนสถานะของเพศหญิงช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ได้ใกล้เคียง ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ คติเรื่องการแต่งงาน ซึ่งถือเป็นทางเลือกเดียวของผู้หญิงที่ไม่อยากอาศัยอยู่กับญาติไปตลอดชีวิต โครงเรื่องหลักของซีรีส์ว่าด้วยการหาคู่ครองของสตรีจึงเป็นเรื่องสมเหตุสมผลตามยุคสมัยนั้น

เมื่อผู้หญิงแต่งงานแล้ว สตรีจะถือว่าเป็น “ทรัพย์สิน” ของสามี เธอไม่สามารถลงนามเซ็นสัญญาหรือเขียนพินัยกรรมโดยปราศจากความเห็นชอบของสามี กระทั่งถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 19 เพศหญิงถึงมีสิทธิถือครองทรัพย์สินหรือหย่าร้างได้

กำเนิด “กางเกงใน(ชาย)” ทรงตัว Y เว้าติดขาหนีบ ใครเป็นต้นคิดออกแบบ


(ซ้าย) ภาพเขียน Le Grand Baigneur โดย Paul Cézanne เมื่อ 1885 ไฟล์ภาพ Public Domain (ขวา) ภาพงานศิลปะอียิปต์โบราณใน สุสานแห่ง Nebamun and Ipuky คาดว่าอยู่ในช่วง 1390 –1349 B.C. ไฟล์ภาพ CC0 1.0 Universal Public Domain

“เครื่องแต่งกาย” ชิ้นแรกที่จะสัมผัสร่างกาย สำหรับผู้ชายส่วนใหญ่ย่อมเป็น “กางเกงใน” หรือในบางพื้นที่นิยมสวมใส่สิ่งที่เรียกว่า “บ็อกเซอร์” (Boxer)

วัฒนธรรมว่าด้วยเครื่องแต่งกายภายในของมนุษย์ยุคปัจจุบัน ล้วนมีพัฒนาการไม่ต่างจากเรื่องอื่นๆ ในโลกใบนี้ และมีส่วนเกี่ยวข้องกับบริบทอื่นๆ อันเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และนวัตกรรมในเชิงวิทยาศาสตร์

ก่อนที่ภาพนายแบบชุดชั้นในแบรนด์ดังจะปรากฏเป็นภาพคุ้นชินตาดังที่เห็นกันในทุกวันนี้ ชิ้นส่วนของ “กางเกงใน” (ชาย) หรือจะเป็นศัพท์แสลงอื่นๆ อันอธิบายถึงลักษณะ “ชุดชั้นใน” ที่ทำจากผ้ายืด สวมใส่แล้วเนื้อผ้าแนบชิดไปกับผิวหนัง รูปทรงของ “กางเกงใน” 

ที่มีลักษณะเป็นทรงเหมือนตัว Y เชื่อกันว่า เริ่มต้นวางจำหน่ายให้เห็นในร้านค้าทั่วไปกลางยุค 1930s หรือเกือบ 90 ปีก่อน

ถ้าจะย้อนอดีตไปจนถึงยุคโบราณกาลกันก่อน “ชุดชั้นใน” ยุคแรกๆ ของมนุษยชาติที่ปรากฏตามแหล่งข้อมูลหลายแห่งล้วนบอกเล่าคล้ายกันว่า สิ่งที่นุ่งห่มมีลักษณะเป็น “ผ้าเตี่ยว” (loincloth) ภาพของชาวอียิปต์โบราณปรากฏผ้าลักษณะนี้สวมใส่อยู่บนรูปวาดตัวบุคคล

ขณะที่ Alana Clifton-Cunningham ผู้เขียนบทความ “A brief history of briefs — and how technology is transforming underpants” จากเว็บไซต์ The Conversation อธิบายว่า ผ้าลักษณะนี้ถูกเรียกโดยชาวอียิปต์โบราณว่า schenti ทำจากการทอวัตถุดิบซึ่งอาจเป็นฝ้าย (Cotton) หรือแฟล็กซ์ (Flax) สวมใส่โดยใช้ “เข็มขัด” รัดเพื่อให้ไม่หลุดหล่น ผู้คนที่สวมใส่ส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง หากเป็นระดับฟาโรห์ 

หลักฐานจากภาพเขียนยุค 1189-1077 ก่อนคริสตกาล จะพบร่องรอยการสวมใส่ผ้าบางๆ ในชั้นนอกด้วย ขณะที่ชนชั้นอื่นๆ ลงไปจนถึงทาส โดยทั่วไปแล้วมักอยู่ในสภาพเปลือยกาย

บางแหล่งข้อมูลบอกกันว่า กรีกโบราณก็ปรากฏการสวมใส่ “ผ้าเตี่ยว” แต่ปรากฏในทางกลับกัน ทาสจะสวมใส่ผ้าลักษณะนี้ ขณะที่พลเมืองทั่วไปไม่ได้ใส่ “ชุดชั้นใน” ใดๆ ภายใต้เครื่องแต่งกายลักษณะเหมือนชุดคลุมที่เรียกว่า “ชิตอน” (chiton)

เมื่อเวลาผ่านไปในแต่ละยุค มนุษย์เริ่มมีตัวเลือกเกี่ยวกับเครื่องแต่งกายมากขึ้น นับตั้งแต่ช่วงยุคแห่งโรมัน ไปจนถึงยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)

ในยุคกลาง แถบยุโรปปรากฏเสื้อชั้นในที่ทำจากลินินหรือฝ้ายซึ่งสวมใส่กันได้ทั้งหญิงและชาย ขณะที่ชิ้นส่วนท่อนล่างก็ปรากฏในช่วงศตวรรษที่ 15-16 เชื่อกันว่า ช่วงเวลานี้ ผู้ชายสวมใส่ชุดชั้นในท่อนล่างที่แยกข้างกันออกเป็นสองข้างแล้ว



Alana Clifton-Cunningham 
ยังอธิบายว่า ชุดชั้นในท่อนล่างสำหรับเพศชายยังเคยมีการเสริมชั้นผ้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการปกป้องอวัยวะเพศให้มากขึ้น มันถูกออกแบบเพื่อเสริมอวัยวะส่วนนั้นมากกว่าการปกปิด ในแง่หนึ่งก็ถือได้ว่าเป็นการส่งเสริมเชิงสัญลักษณ์ว่าด้วยพลังทางเพศ

ชุดชั้นในท่อนล่างในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 สำหรับทั้งเพศหญิงและชายล้วนแยกออกเป็นสองข้าง ในช่วงศตวรรษนี้เองที่ปรากฏ “ลองจอห์น” (Long John) ชุดชั้นในที่ท่อนล่างคลุมไปถึงข้อเท้า พัฒนามาจาก “union suit” อันเป็นชุดชั้นในชิ้นเดียวที่ใส่คลุมทั้งท่อนบนท่อนล่าง

เชื่อกันว่า เหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์อย่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีส่วนทำให้ชุดชั้นในต้องเปลี่ยนแปลงไปด้วย สืบเนื่องจากผู้หญิงต้องใช้แรงงานในโรงงาน เหมือง และฟาร์มมากขึ้น การทำงานลักษณะนี้ย่อมเหมาะกับการสวมใส่ชุดชั้นในที่คล่องตัวมากกว่าสวมใส่ชุดชั้นในหลายชั้นตามความนิยมก่อนหน้านี้ เริ่มมีเค้าโครงของการสวมใส่ชุดชั้นในแบบหลวมๆ ก็มีให้เห็น และนำมาสู่กางเกงชั้นในสตรีขาสั้นที่คลุมมาถึงต้นขาหรือช่วงเหนือหัวเข่าซึ่งผู้หญิงเริ่มใส่ในช่วงปีค.ศ. 1916

ภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรม วัฒนธรรมหลายอย่างเริ่มเปลี่ยนแปลง และนับตั้งแต่ทศวรรษ 1920 เป็นต้นไป ชุดชั้นในสตรีอย่าง “คอร์เซ็ต” (corset) ก็เริ่มถูกแทนที่ด้วยชุดชั้นในที่บีบรัดน้อยกว่า ทศวรรษต่อมาที่เริ่มปรากฏวัตถุดิบที่ยืดหยุ่นได้ อาทิ latex ในทศวรรษที่ 1930 มีส่วนทำให้ชุดชั้นในมีลักษณะแนบเนื้อมากขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการอันนำมาสู่ลักษณะชุดชั้นในที่ใส่กันในปัจจุบัน

บทความหลายชิ้นเกี่ยวกับพัฒนาการ “กางเกงใน” สำหรับผู้ชาย รวมถึงบทความ A BRIEF HISTORY OF PANTS: WHY MEN’S SMALLS HAVE ALWAYS BEEN A SUBJECT OF CONCERN ในเว็บไซต์ Independent ล้วนบ่งชี้ถึงจุดกำเนิดของกางเกงในชายแบบสั้น เว้าส่วนขา มีลักษณะเหมือนตัว y เริ่มวางจำหน่ายครั้งแรกเมื่อปี 1935 ออกแบบโดยนักออกแบบเสื้อผ้าชื่อว่า Arthur Kneibler ซึ่งทำงานให้กับบริษัท Coopers Inc บริษัทจำหน่ายถุงเท้าและชุดชั้นในแบบต่างๆ ขณะที่ก่อนหน้านั้นราวหนึ่งทศวรรษ ฝ่ายชายก็เริ่มรู้จักกับกางเกงชั้นในแบบ “บ็อกเซอร์” (Boxer) ลักษณะขาสั้น และใส่แบบหลวมๆ มาก่อนแล้ว

กางเกงในชายที่ออกแบบโดย Arthur Kneibler ทำจากผ้าฝ้ายแบบนิ่ม ไม่ต้องรีด การออกแบบของ Arthur Kneibler ถูกนำไปเทียบกับลักษณะการสวมใส่กระจับในแง่ความรัด บริษัทจึงตั้งชื่อผลิตภัณฑ์ใหม่ว่า กางเกง Jockey ล้อกับศัพท์เรียก “กระจับ” (jockstrap) ซึ่งเดิมทีถูกออกแบบเมื่อปี 1874 โดยบริษัท Sharp & Smith ในช่วงที่ “จักรยาน” เพิ่งแพร่หลายได้ไม่นาน โดย “กระจับ” (jockstrap) ของบริษัท Sharp & Smith มีไว้เพื่อช่วยปกป้องอวัยวะผู้ขับขี่ขณะขี่บนพื้นถนนหินกรวดอันขรุขระ

ในปี 1938 ภายหลังการประดิษฐ์เส้นใยสังเคราะห์ ชุดชั้นในที่น้ำหนักเบา และทำความสะอาดง่ายก็เริ่มก่อร่างขึ้น

อย่างไรก็ตาม บทความของ Alana Clifton-Cunningham ระบุว่า กางเกงในชายที่มีลักษณะสั้นถึงเป้าปรากฏภายหลังปี 1945 และในปี 1959 เส้นใยไลครา (Lycra) จึงถือกำเนิดขึ้น เมื่อมีเส้นใยที่เป็นส่วนผสมระหว่างฝ้ายและไนลอน ผลลัพธ์ที่ออกมาช่วยให้ผ้าแข็งแรงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถยืดหยุ่น และคืนรูปได้ดี นวัตกรรมนี้ส่งผลให้ชุดชั้นในในภายหลังล้วนรองรับกับสรีระทั้งของผู้หญิงและผู้ชายได้มากขึ้น และในยุค 70s ชุดชั้นในก็พัฒนาไปถึงขั้นไร้รอยต่อได้ด้วย

ในภาพรวมแล้ว ตลาดชุดชั้นในยุคศตวรรษที่ 20 มีคู่แข่งระหว่าง “กางเกงใน” รูปทรงเหมือนตัว Y กับ “บ็อกเซอร์” ซึ่งล้วนแต่อ้างประโยชน์ต่อสุขภาพด้วยกันทั้งคู่ อิทธิพลสำคัญประการหนึ่งคือเรื่องแฟชั่น ดังเช่น ความนิยมกางเกงยีนส์รัดรูปในสหราชอาณาจักรยุค 70s ทำให้ฝ่าย “กางเกงใน” กลับมาได้รับความนิยม

อันที่จริงแล้วกระแสความนิยมก็สลับขั้วกันไปมาตามเทรนด์แฟชั่นแต่ละช่วง โดยเฉพาะในช่วง 1980s กางเกงในชายรูปทรงเหมือนตัว Y กลับมาเป็นกระแสจากโฆษณาของแบรนด์ Calvin Klein ที่นายแบบสวมใส่กางเกงในรัดรูปสีขาว

วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

ไปรสนียาคาร กิจการไปรษณีย์ไทย แห่งแรกของประเทศไทย


ไปรสนียาคาร
อาคารนี้ ก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2414  ตั้งอยู่ปากคลองโอ่งอ่างริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร 

ซึ่งเป็นบริเวณบ้านเดิมของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) อดีตเจ้าเมืองปราจีนบุรี ซึ่งต้องคดีข้อหา ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี พระยาปรีชากลการถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 และถูกยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกิจการไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426

โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้สำเร็จราชการไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์แรก ได้ใช้บ้านเดิมของพระปรีชากลการ เป็นที่ทำการ ใช้ชื่อเรียกว่า "ไปรสนียาคาร" หลังจากนั้นใน พ.ศ.2496 ไปรสนียาคารได้ปรับปรุงเป็นอาคารเรียน “โรงเรียนกรมไปรษณีย์และโทรเลข” 


เพื่อเป็นสถานที่ผลิตพนักงานไปรษณีย์ให้บริการประชาชน ก่อนจะถูกทุบทิ้งในปีพ.ศ 2525เพื่อเปิดทางสร้างสะพานพระปกเกล้าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งถึงแม้ “ไปรสนียาคาร”จะรื้อถอนไป 

แต่ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่คนไทยมักนึกถึงเมื่อพูดถึงเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์เสมอมา.

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2567

ปลาไทเกอร์วิเตตัส ปลาที่นำความโชคร้ายและอัปมงคลมาให้ หากใครได้รับประทานก็จะเจ็บป่วย


ปลาไทเกอร์วิเตตัสปลาที่หน้าตาดูแล้วแสนจะธรรมดาแต่แฝงไว้ด้วยความดุร้าจึงกลายเป็นความเชื่อที่อ้างว่าถ้าใครนำปลามาจะพบกับความโชคร้ายและอัปมงคลมาให้โดยไม่คาดคิด

ปลาไทเกอร์วิเตตัส (อังกฤษ: Tigerfish) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hydrocynus vittatus (Hydrocynus-สุนัขน้ำ, หมาน้ำ; vittatus-ลายพาด) อยู่ในวงศ์ปลาเตตร้าแอฟริกัน (Alestidae)


มีรูปร่างโดยรวมทั่วไปคล้ายกับปลาในสกุล Hydrocynus ชนิดอื่น ๆ แต่มีความ
แตกต่างออกไป คือ มีขาไกรรไกรที่สั้นงุ้ม ส่วนหัวมีขนาดเล็กกว่าชนิดอื่น 


ๆ ลำตัวมีลายพาดตามยาว หางมีสีเหลืองไปจนถึงสีแดงในบางตัวและสภาพแวดล้อม 
ปลายปากล่างสีแดง เมื่อยังเล็กลำตัวมีความกลม แฉกของครีบหางแคบกว่าชนิด H. goliath มีเกล็ดประมาณ 44– 48 ชิ้น



ขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวได้ 105 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 28 กิโลกรัม อายุสูงสุดที่ได้รายงานคือ 8 ปี

เป็นปลาที่มีพฤติกรรมอยู่รวมเป็นฝูง พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางในทวีปแอฟริกาทั้ง แม่น้ำไนล์, ประเทศไนเจอร์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, แม่น้ำคองโก, แม่น้ำลูลาบา, แม่น้ำแซมเบซี, ทะเลสาบแทนกันยีกา, ทะเลสาบมาลาการาซี เป็นต้น

จัดเป็นปลาแอฟริกันไทเกอร์อีกชนิดหนึ่ง ที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และตกกันเป็นเกมกีฬา

ปลาไทเกอร์วิเตตัส เป็นปลาอีกชนิดหนึ่งที่สามารถทำร้ายมนุษย์ได้ มีชาวพื้นเมืองตลอดจนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและถึงแก่ชีวิตมาแล้ว ในความเชื่อของชาวพื้นเมือง 

นับเป็นปลาที่นำความโชคร้ายและอัปมงคลมาให้ หากใครได้รับประทานก็จะเจ็บป่วย เมื่อจับปลาได้จะไม่มีการนำเข้ามาในบ้าน แม้แต่การพูดถึงก็เป็นสิ่งที่ไม่ควร และเป็นปลาที่ทำความเสื่อมให้แก่พลังในการรักษาผู้คนของหมอผีพื้นบ้านอีกด้วย โดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า อิงเกวส (Ndweshi)


ปลาไทเกอร์วิเตตัส จะออกล่าอาหารเมื่อโตเต็มที่ ในบริเวณปากแม่น้ำโอคาวังโก ในแอฟริกาใต้ ในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำจะใสสะอาด ฝูงปลาต่าง ๆ จะว่ายออกมาหาอาหาร รวมถึงพวกปลาหนัง 


ปลาหนังจะมีพฤติกรรมไล่ล่าปลาเล็ก ๆ เป็นอาหารในดงกกหรือปาริรุส นั่นคือสัญญาณเตือนให้ฝูงปลาไทเกอร์วิเตตัสออกมาไล่ล่าปลาหนัง ซึ่งบางครั้งเมื่อกัดและตระครุบเหยื่อได้ อาจฉีกเนื้อเหยื่อกระเด็นลอยขึ้นไปบนอากาศได้

ปลาไทเกอร์วิเตตัส ดูรวมๆแล้วเป็นปลาที่มีรูปร่าง น่าสยดสยองมากๆเลยนะครับดูที่ฟันปลาชนิดนี้ฟันมันเหยินแหลมคม

รับรองได้ว่าถ้ามันกัดเนื้อสัตว์หรือว่ากัดเนื้อคน คงจะเป็นแผลเวอะ หวะ น่าชมเลยนะครับ ปลาชนิดนี้หนีห่างไกลได้ควรจะห่างเลยนะครับอันตรายมากๆฟันมันแหลม เหมือน ฟันหมา หรือ ฟันจระเข้

ปลาโนรีเทวรูปชื่อแปลกๆเป็นปลาที่มีรูปร่างสีสันสวยงาม


ปลาโนรีเทวรูปปลาที่มีชื่อแปลกๆเป็นปลาที่มีรูปร่างสีสันสวยงาม

ปลาโนรีเทวรูป

ปลาโนรีเทวรูป หรือ ปลาผีเสื้อเทวรูป (อังกฤษ: Moorish idol) เป็นปลาทะเลชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zanclus cornutus จัดอยู่ในวงศ์ Zanclidae (มาจากภาษากรีกคำว่า zagkios หมายถึง ทแยง) และถือเป็นปลาเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์นี้ และสกุล Zanclus

ปลาโนรีเทวรูป มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาในวงศ์ปลาผีเสื้อ (Chaetodontidae) มาก โดยเฉพาะกับปลาโนรี (Heniochus spp.) ซึ่งในอดีตเคยถูกจัดให้อยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่ปัจจุบันได้มีการแยกออกมา แต่ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเป็นผลมาจากการวิวัฒนาการที่มีมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งปลาโนรีเทวรูปมีความใกล้เคียงกับปลาการ์ตูน (Amphiprioninae) หรือปลาสินสมุทร (Pomacanthidae) มากกว่า


มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับปลาโนรีครีบยาว (H. acuminatus) และปลาโนรีเกล็ด (H. diphreutes) มาก แต่มีลำตัวทางด้านท้ายเป็นสีเหลืองนวล จะงอยปากแหลมยาวกว่า ครีบหางมีสีดำ และสีครีบหางจะคล้ำและมีรอยคล้ายเขม่าที่บริเวณครีบหลัง ลักษณะเกล็ดแลดูเรียบเป็นมันเงา

มีความยาวเต็มที่ประมาณ 22 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในแถบอินโด-แปซิฟิก ในน่านน้ำไทยจะได้พบในด้านทะเลอันดามัน ในต่างประเทศ พบได้กว้างขวางมาก ตั้งแต่ มหาสมุทรอินเดีย, อ่าวแคลิฟอร์เนีย, อเมริกาใต้, ฮาวาย, ทะเลญี่ปุ่น, ไมโครนีเซีย, แอฟริกา 



หากินอยู่ตามแนวปะการังเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อ และสามารถหากินได้ลึกถึงหน้าดินในความลึกถึง 182 เมตร ซ้ำยังมีพฤติกรรมออกหากินในเวลากลางวันเช่นเดียวกัน แต่เป็นปลาที่มักอาศัยอยู่ตามลำพังหรือไม่ก็เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ โดยกินฟองน้ำเป็นอาหารหลัก และสัตว์น้ำทั่วไปขนาดเล็ก 

ปลาวัยอ่อนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ลำตัวโปร่งใส ใช้ชีวิตคล้ายกับแพลงก์ตอนคือ จะถูกกระแสน้ำพัดพาลอยไปไกลจากถิ่นกำเนิด จึงทำให้การแพร่กระจายพันธุ์เป็นไปอย่างกว้างขวาง


นิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามเช่นเดียวกับปลาผีเสื้อหรือปลาโนรี และสามารถเลี้ยงรวมกันได้ ซึ่งในวัฒนธรรมร่วมสมัย ปลาโนรีเทวรูปได้ถูกสร้างเป็นตัวละครตัวหนึ่งในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง Finding Nemo ของวอลต์ ดีสนีย์ ออกฉายในปี ค.ศ. 2003 โดยเป็นหัวหน้าฝูงปลาชื่อ กิลด์ (ให้เสียงพากย์โดย วิลเลม ดาโฟ) ในตู้กระจกภายในคลินิกทันตแพทย์[4]

ปลาโนรีเทวรูป ยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีก ได้แก่ "ปลาผีเสื้อหนัง" หรือ "ปลาโนรีหนัง"