วันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

ทีมวิจัยถอดสำเร็จ! เปิดบันทึกข้อความ ‘ม้วนคัมภีร์อายุ2000ปี’ หลงเหลือจากระเบิดภูเขาไฟ ใต้ซากเมืองปอมเปอีเป็นครั้งแรก


ทีมวิจัยถอดสำเร็จ! เปิดบันทึกข้อความ ‘ม้วนคัมภีร์อายุ2000ปี’ หลงเหลือจากระเบิดภูเขาไฟ ใต้ซากเมืองปอมเปอีเป็นครั้งแรก

เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า ทีมวิจัยสามารถถอดข้อความ “ม้วนคัมภีร์เฮอร์คิวเลเนียม” อายุกว่า 2000 ปีที่รอดมาจากการระเบิดของภูเขาไฟเวซูเวียสสำเร็จ ซึ่งถูกพบเมื่อปี 1750 ในซากบ้านหลังหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นบ้านพ่อตาของ จูเลียส ซีซาร์ จักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมัน

ตามรายงานเผยว่า ม้วนคัมภีร์เฮอร์คิวเลเนียม คือม้วนคัมภีร์โบราณอายุ 2,000 ปี เป็นม้วนกระดาษปาปิรุสหลายร้อยม้วนที่รอดมาจากการปะทุของภูเขาไฟเวซูเวียส อยู่ในสภาพที่ไหม้เกรียมและแห้งกรัง ทำให้ยากต่อการคลี่มันออกมาอ่าน อีกทั้งข้อความหรือตัวอักษรใดๆ บนม้วนคัมภีร์ก็แทบจะอ่านไม่ออกด้วยสายตามนุษย์

ทางด้านเบรนต์ ซีเลส ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยเคนตักกี ผู้ร่วมก่อตั้งเวซุเวียสชาเลนจ์ ระบุว่า การถอดข้อความบนม้วนคัมภีร์ใช้เทคนิคที่เรียกว่า “การแกะกระดาษเสมือนจริง” หรือการใช้คอมพิวเตอร์เอ็กซเรย์สแกนม้วนกระดาษและตรวจจับหมึกบนหน้ากระดาษด้วยปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง


อย่างไรก็ตาม ข้อความที่ถอดรหัสมาได้ เป็นส่วนท้ายของม้วนคัมภร์เฮอคิวเลเนียม และเผยให้เห็นข้อความที่เขียนโดย “ฟิโลเดมัส” (Philodemus) ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นนักปรัชญาที่ทำงานในห้องสมุดบ้านหลังที่พบม้วนคัมภีร์

ฟิโลเดมัสเขียนถึง “ความสุข” โดยพิจารณาประเด็นปรัชญาที่ว่า การครอบครองสิ่งของที่มีอยู่น้อยกว่า (มีจำกัด หรือหายาก) จะส่งผลต่อปริมาณความสุขหรือไม่

โดยประโยคแรกที่อ่านได้ระบุว่า “ในกรณีของอาหารเช่นกัน เราไม่ได้เชื่อในทันทีว่าสิ่งที่หายากจะน่าพึงพอใจมากกว่าสิ่งที่มีอยู่มากมาย” ในตอนต้นของข้อความแรก ยังมีการกล่าวถึง “ซีโนแฟนทอา” (Xenophantos) ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นนักดนตรี ด้วย

ขณะเดียวกัน อีกข้อความหนึ่ง ผู้เขียนได้กล่าวถึงศัตรูของเขาที่ “ไม่มีอะไรจะพูดเกี่ยวกับความสุข ไม่ว่าจะโดยทั่วๆ ไปหรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อมันเป็นเรื่องของคำจำกัดความ”

นอกจากนี้ อีกข้อความหนึ่งบอกว่า “… เพราะเราไม่ละเว้นจากการตั้งคำถามบางอย่าง แต่เป็นการเข้าใจ-จดจำผู้อื่น และขอให้เราพูดความจริงตามที่ประจักษ์อยู่บ่อยครั้ง!”

สุดอลังการสุดวิจิตร มังกรจีนจากหลุมศพชนชั้นสูง สร้างจากเทอร์คอยส์กว่า 2 พันชิ้น



สุดอลังการสุดวิจิตร "มังกรจีน" จากหลุมศพชนชั้นสูง สร้างจากเทอร์คอยส์กว่า 2 พันชิ้น

สิ่งประดิษฐ์ "มังกรจีน" โบราณ จากหลุมศพชนชั้นสูง สร้างจากเทอร์คอยส์กว่า 2 พันชิ้น


สิ่งประดิษฐ์โบราณรูปทรงมังกร ซึ่งประกอบขึ้นจากเทอร์คอยส์ (turquoise) หรือพลอยสีขี้นกการเวก จำนวนกว่า 2,000 ชิ้น 


โดยถูกขุดพบเมื่อปี 2002 จากหลุมศพของชนชั้นสูงที่แหล่งโบราณคดีเอ้อร์หลี่โถว ในเมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนานทางตอนกลางของจีน


รายงานระบุว่าโบราณวัตถุสีฟ้าแกมเขียวสดใสชิ้นนี้มีความยาวรวมกว่า 70 เซนติเมตร ปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีจีนในกรุงปักกิ่ง เมืองหลวงของประเทศ


คณะนักโบราณคดีของจีนให้ฉายาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้ว่า “มังกรแห่งจีน” (Dragon of China) เนื่องจากมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ และวิทยาศาสตร์เป็นอย่างมาก

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

อลังการงานสร้าง โมเนมวาเซีย เป็นหนึ่งในเมืองป้อมปราการยุคกลางที่สำคัญที่สุดของกรีซ


อลังการงานสร้าง โมเนมวาเซีย เป็นหนึ่งในเมืองป้อมปราการยุคกลางที่สำคัญที่สุดของกรีซ


นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในปราสาทที่สวยที่สุดในโลกอีกด้วย


โมเนมวาเซีย อยู่ทางตอนใต้ของกรีซ บนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของ Peloponnese 


โมเนมวาเซีย ตั้งอยู่บนเชิงหินที่ตั้งตระหง่านนอกชายฝั่ง และมีซากปรักหักพังของป้อมปราการยุคกลางและโบสถ์ไบแซนไทน์สมัยศตวรรษที่ 14 อยู่บนยอด


มีการเชื่อมต่อกับแผ่นดินใหญ่ด้วยทางหลวง จึงมีชื่อสมัยใหม่ที่มีความหมายว่า "เมืองแห่งแนวทางเดียว"

วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

Spider Rock เป็นยอดหินทรายแปลกประหลาด ที่ตั้งอยู่ใน Apache County รัฐแอริโซนา ในสหรัฐอเมริกา



Spider Rock เป็นยอดหินทรายที่ตั้งอยู่ใน Apache County รัฐแอริโซนา 

ในสหรัฐอเมริกา ภายในขอบเขตของอนุสรณ์สถานแห่งชาติ Canyon de Chelly ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานแห่งชาติที่ได้รับการคุ้มครอง 



Spider Rock เป็นลักษณะทางธรณีวิทยาที่โดดเด่นที่สุดของอนุสาวรีย์นี้ โดยมีความสูงถึง 750 ฟุตเหนือพื้นหุบเขา ประเพณีนาวาโฮเชื่อว่ายอดแหลมแห่งนี้เป็นที่อยู่ของ 



“คุณย่าแมงมุม” การปีนหน้าผา Spider Rock ถือเป็นสิ่งต้องห้าม เพื่อเป็นคำสั่งให้ห้ามการปีนหน้าผาทุกรูปแบบทั่ว Navajo Country โดยเด็ดขาด

Spider Rockสถานที่นี้สวยงามมากๆเลยนะครับแปลกประหลาดและมันดูเป็นธรรมชาติที่น่าค้นหามากที่สุด แม้โลกพัฒนามาก้าวไกลแต่สถานที่แห่งนี้มนต์ขลังอดีตที่น่าค้นหา


สยามโมดอน นิ่มงามมิ ไดโนเสาร์ที่ขุดพบในประเทศไทยแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้ขอนำเสนอไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่พบและขุดพบได้ในประเทศไทยที่มีชื่อว่าสยามโมดอน นิ่มงามมิ แหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา




เรามาชมกันเลยดีกว่านะครับว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

สยามโมดอน นิ่มงามมิ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงอายุแอปเชียน
~120–113Ma 
PreꞒꞒOSDCPTJKPgN


สถานะการอนุรักษ์สูญพันธ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Sauropsida
อันดับใหญ่:Dinosauria
อันดับ:Ornithischia
อันดับย่อย:Ornithopoda
สกุล:Siamodon
Buffetaut & Suteethorn, 2011
ชนิดต้นแบบ


สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami)[1] เป็นไดโนเสาร์ ออร์นิโธพอด กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 


โดยผู้ที่พบคือ นายวิทยา นิ่มงาม พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว

สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร , มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด , มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ 

ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของสันใหญ่ อีก 1 สัน หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ , ความยาวของฟันประมาณ 25 - 28 มิลลิเมตร และความกว้างของฟันประมาณ 14 - 17 มิลลิเมตร

สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนเทียแรกเริ่ม (basal iguanodontia) เช่น ไดโนเสาร์วงศ์ อิกัวโนดอน (Iguanodontids) ตรงที่มีลักษณะของ "ฟัน" ของขากรรไกรบน ที่ไม่เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์วงศ์อิกัวโนดอน จะมีสันฟันไม่ได้อยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟัน และยังมีสันฟันเล็กๆ อยู่ด้านข้างอยู่อีกหลายๆ สัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของส่วนยอดของขากรรไกรบน จะอยู่ในตำแหน่งที่คล้อยไปทางด้านหลังอีกด้วย


สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์ วงศ์ฮาโดรซอร์ (Hadrosaurids) ตรงที่บริเวณการประสานต่อกัน ของกระดูกโหนกแก้ม (jugal) กับกระดูกขากรรไกรบน โดยมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม (jugal process) มีลักษณะเป็น "แถบแบน" ในขณะที่ไดโนเสาร์วงศ์ฮาโดรซอร์ จะมีลักษณะการขยายทางส่วนหน้าของกระดูกโหนกแก้ม และ อยู่เหลื่อมกันบริเวณรอยต่อของกระดูกขากรรไกรบน


สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ โปรแบคโตรซอรัส (Probactrosaurus) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพิจารณาจากลักษณะที่มีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม ที่เป็นแถบแบน เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันครงที่ มีจำนวนฟันของกระดูกขากรรไกรบน ที่น้อยกว่า Probactrosaurus

ยังไงบ้างครับไดโนเสาร์ประเทศไทยที่ขุดพบรู้สึกว่ามันจะดูน่ารักดีนะครับไดโนเสาร์ตัวนี้แถมชื่อก็ดูดีไปด้วยสยามโมดอน นิ่มงามมิ การตั้งชื่อก็เป็นเกียรติกับผู้ที่ขุดพบได้เป็นคนแรกเยี่ยมมากๆเลยนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

จีน พบ อานม้า ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อาจเกิดขึ้นที่ประเทศจีน


ที่ประเทศจีน พบ อานม้า ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อาจเกิดขึ้นที่ประเทศจีน

นักโบราณคดีพบ อานม้า หนังโบราณในหลุมศพของหญิงชาวจีน ที่นำไปสู่บันทึกสำคัญในประวัติศาสตร์โลกด้านสิ่งประดิษฐ์และอารยธรรม
มีสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างในโลกที่ถูกพบว่าก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ล่าสุด ณ สุสาน Yanghai ใกล้เมือง Turpan หรือ ทู่พาน มีการค้นพบ อานม้า ที่เชื่อว่าอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก คือเมื่อ 2,700 ปีก่อน



อานม้า นี้เป็นของหญิงเลี้ยงสัตว์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยถูกซุกไว้ในเสื้อคลุมที่ทำจากหนังสัตว์ กางเกงขนสัตว์ และรองเท้าบูทหนัง ถูกฝังไว้พร้อมกับอานม้าของเธอ

ต่อมามีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า อานม้า ดังกล่าว มีอายุระหว่าง 700 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล จึงกลายเป็นอานม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกค้นพบ ความน่าสนใจคือ ทำไมในยุคนั้นถึงมีการการสร้างอานขึ้นมา


แพทริค เวิร์ตมันน์ (PATRICK WERTMANN) จากมหาวิทยาลัยซูริก ผู้ศึกษาเรื่องอานม้าดังกล่าว และถูกตีพิมพ์ในวารสาร Archaeological Research in Asia ระบุว่า การค้นพบนี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ในทางโบราณคดีการค้นพบอานม้าพบหาได้ยาก เพราะส่วนประกอบของอานม้ามักจะสลายตัวง่าย อุปกรณ์เกี่ยวกับม้าประเภทอื่นๆ อย่าง บังเหียน โกลนม้า แส้ ซึ่งถูกขุดพบบ่อยกว่า
อานม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อานม้าแห่งแอ่งอารยธรรมถูหลู่ฟาน ณ สุสาน Yanghai (หยางไห่) ถูกขนานนามว่า อานม้า Yanghai อาจไม่ใช่อานม้าชิ้นแรกของโลก แต่ถูกบันทึกว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในตอนนี้ โดยก่อนหน้านี้ตำแหน่งนี้เป็นของ อานม้าของ Pazyryk ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่พื้นที่อัลไตของประเทศคาซัคสถานและรัสเซียทางตอนเหนือ และถึอว่า ชาว ไซเธียนส์ จากเมือง Pazyryk เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกการใช้อานม้าในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช

มีความเป็นไปได้ว่า อานม้า Yanghai กับ อานม้า Pazyryk อาจมีความเชื่อมโยงกัน โดยวัฒนธรรมการขี่ม้าอาจได้รับการแพร่หลายจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนไป สู่ภูมิภาค Pazyryk และเป็นไปได้ว่าการใช้อานม้าก็ถูกส่งต่อไปด้วยเช่นกัน

ที่นั่งบนหลังม้า
อานม้า Yanghai มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ปัจจุบันถูกเก็บการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่เดิม เพราะการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ แล้ววัตถุไปพบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาจเกิดว่าเสียหายขึ้น ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกมากมายเกี่ยวกับวิวัฒนาการและนวัตกรรมการขี่ม้าในยุคแรกๆ

อานม้าดังกล่าว สร้างมาจากหนังสัตว์ บริเวณปีกทั้งสองข้างเต็มไปด้วยฟาง ขนกวาง และขนอูฐ ถูกเย็บติดกันตามขอบด้านนอกและคั่นด้วยส่วนที่คล้ายกับเครื่องในสัตว์เพื่อช่วยลดแรงกดทับกระดูกสันหลังของม้า


สำหรับการผลิตอานม้าขึ้น เชื่อว่าเกิดจากความใส่ใจที่เรื่องความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ขี่ม้า รวมถึงการถนอนการใช้งานม้าซึ่งอานม้าทำให้มนุษย์ในยุคนั้นสามารถเดินทางได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น มีส่วนในการขยายอารยธรรม โดยอานในยุคแรกๆ ทำจากวัสดุง่ายๆ และใช้งานผู้หญิงชาวบ้านทั่วไป ต่างจากการค้นพบที่ Pazyryk ที่อานม้าถูกใช้งานโดยชาวไซเธียนชั้นสูงในสังคม


มนุษย์เริ่มขี่ม้าเมื่อไหร่?
ผู้คนเริ่มขี่ม้าและเริ่มใช้อานม้าเมื่อไหร่ เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมากในวงการประวัติศาสตร์โลก โดยในรายงานชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า การขี่ม้ามีต้นกำเนิดในประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย และฮังการีในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในหลายศตวรรษก่อนที่อานจะถือกำเนิดขึ้น นักขี่ม้าจะขี่ม้าบนหลังเปล่าหรือนั่งบนเสื่อหรือผ้าห่ม

อานม้า Yanghai เปลี่ยนแปลงความคิดสำคัญของนักประวัติศาสตร์หลายคนที่เคยสันนิษฐานว่า อานม้า ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ผู้ชายใช้งานทางการทหาร แต่การค้นพบอานม้าในหลุมศพของผู้หญิงโบราณในจีน บ่งบอกว่าผู้หญิงก็มีกิจกรรมประจำวันในการขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ และการเดินทางเช่นกัน


ส่วนในจีน ม้าและการขี่ม้าเป็นสิ่งที่นิยมในอารยธรรมจีนโบราณ ก่อนหน้านี้โบราณวัตถุเกี่ยวกับม้าที่เก่าแก่ที่สุดสองอันของจีนคือ ม้าทองสัมฤทธิ์ในช่วงปี 1191–1148 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีการใส่เสื่อเรียบๆ แทนอานม้า และกระจกสีบรอนซ์ที่มีอายุระหว่าง 770 ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล มีภาพคนขี่ม้าตกแต่งด้วยอานม้าแบบเดียวกับที่พบในพื้นที่  Yanghai

ขณะที่อานม้าของทหารม้าดินเผาที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์ฉิน ช่วงยุค 246 ถึง 208 ปีก่อนคริสตกาล มีความซับซ้อนมาก และชวนให้นึกถึงการออกแบบอานม้าของชาวไซเธียน