วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

สัตว์ในตำนานซาลาแมนเดอร์ไฟ


ซาลาแมนเดอร์ไฟ (อังกฤษ: Fire salamander; ชื่อวิทยาศาสตร์: Salamandra salamandra) เป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดเล็กจำพวกซาลาแมนเดอร์ชนิดหนึ่ง จัดเป็นนิวต์ (Salamandridae) หรือซาลาแมนเดอร์ขนาดเล็ก

ชื่อซาลาแมนเดอร์ไฟนั้น สันนิษฐานว่ามาจากการที่มนุษย์ในสมัยโบราณ จะใช้ฟืน ที่นำมาจากกิ่งไม้หรือโพรงไม้ต่าง ๆ โยนเข้ากองไฟเพื่อสร้างความอบอุ่นยามหนาว บางครั้งจะพบซาลาแมนเดอร์ชนิดนี้ซุกซ่อนอยู่ภายใน 

เมื่อฟืนถูกไฟ ด้วยความร้อนซาลาแมนเดอร์ก็จะคลานออกมา เหมือนกับว่าคลานออกมาจากกองไฟ อันเป็นที่มาของสัตว์ในตำนานที่ว่า เมื่อโยนซาลาแมนเดอร์เข้าไปในกองไฟแล้วก็ไม่ตาย เนื่องจากมีความชื้นในรูปแบบของเมือกที่ปกคลุมตัวอยู่ ซึ่งก็ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ซาลาแมนเดอร์ไฟ นับเป็นซาลาแมนเดอร์ชนิดที่พบได้ง่ายกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ ในทวีปยุโรป มีลำตัวสีดำมีจุดสีเหลืองหรือลายเส้นที่แตกต่างกันออกไป บางตัวอาจจะมีสีเกือบดำสนิทในขณะที่บางตัวมีแถบสีเหลืองสดตัดกันโดดเด่น และบางตัวก็มีสีออกไปทางเหลืองเฉดแดง หรือสีส้ม มีขนาดความยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ในตัวที่โตเต็มวัย และมีอายุขัยที่ยาวนานถึง 50 ปี นับว่ายาวนานกว่าซาลาแมนเดอร์ชนิดอื่น ๆ มาก


นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถปล่อยสารพิษประเภทอัลคาลอยด์ ในรูปแบบของต่อมพิษที่ผิวหนังเพื่อป้องกันตัวได้ด้วย มีผลทำให้กล้ามเนื้อชักเกร็ง, ความดันโลหิตสูง โดยต่อมพิษนี้กระจายอยู่ทั่วตัว และกระจุกในพื้นผิวบางส่วนของร่างกายเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนหัว และผิวหลังส่วนผิวหนังมักจะตรงกับต่อมเหล่านี้ ซึ่งสารประกอบในการหลั่งผิวหนังอาจจะมีผลต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อราของผิวหนังชั้นนอก

พบกระจายพันธุ์ตามแหล่งน้ำที่สะอาดต่าง ๆ ในป่าประเภท ป่าผลัดใบ หรือภูเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นป่าที่มีพืชชั้นต่ำประเภทมอสส์ปกคลุม ในหลายประเทศของทวีปยุโรป ตั้งแต่ประเทศแอลเบเนีย, ออสเตรีย, เบลเยี่ยม, บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา, บัลแกเรีย, ฮังการี, โครเอเชีย, สาธารณรัฐเช็ก, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, กรีซ, อิตาลี, ลักเซมเบิร์ก, มอนเตเนโกร, ยูโกสลาเวีย, เนเธอร์แลนด์, โปแลนด์, โปรตุเกส, โรมาเนีย, สเปน, สวิสเซอร์แลนด์ โดยพบไปได้ไกลถึงภูมิภาคตะวันออกกลาง เช่น ตุรกี และอิหร่าน


มีพฤติกรรมหากินในเวลากลางคืน กินสัตว์ขนาดเล็กกว่า เช่น แมลง, กุ้ง, ปู, ทาก หรือสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำด้วยกันขนาดเล็ก


เข้ามาดูวิดีโอของฉันใน Shopee Video คลิกเลย >>> https://th.shp.ee/e3btmkd?smtt=0.0.9

 โดยปกติในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวตามโขดหินและขอนไม้ จะออกมาหากินในเวลากลางวันบ้างก็ต่อเมื่อมีฝนตก ความชื้นในอากาศมีสูง ทั้งตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ยกเว้นในช่วงฤดูผสมพันธุ์จะสามารถเห็นถึงความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจนที่สุด คือ ต่อมบวมรอบ ๆ ระบายชายของตัวผู้ ต่อมนี้มีหน้าที่ผลิตถุงเก็บสเปิร์ม ซึ่งประกอบด้วยสเปิร์มจำนวนมากที่ตอนปลาย 


เมื่อซาลาแมนเดอร์ตัวเมียขึ้นมาบนบก ตัวผู้หลังจากปล่อยถุงสเปิร์มลงบนพื้นดินแล้วพยายามที่จะให้ตัวเมียรับเข้าไปผสมพันธุ์ หากประสบความสำเร็จทั้งไข่และสเปิร์มมีการปฏิสนธิกัน ซึ่งเกิดขึ้นภายในตัวของตัวเมีย ตัวอ่อนจะได้รับการเพาะฟักในแหล่งน้ำที่สะอาดต่อไป

ค้นพบวัวทะเลหรือพะยูนแมนนาทีสัตว์ทะเลที่หายาก


พะยูนแมนนาที บางทีเรียก พะยูนหางกลม หรือ วัวทะเล (อังกฤษ: Manatee, Sea cow) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอาศัยในน้ำขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง สัตว์ในวงศ์ Trichechidae ต่างจากสัตว์ในวงศ์ Dugongidae 

หรือพะยูนตรงรูปร่างของกะโหลกศีรษะและรูปร่างของหาง โดยหางของพะยูนแมนนาทีจะมีรูปร่างแบนกลมคล้ายใบพาย ส่วนหางของพะยูนจะแยกออกเป็นส้อมคล้ายหางโลมา แมนนาทีเป็นสัตว์กินพืชซึ่งใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการหาอาหารกินในเขตน้ำตื้น รวมถึงอาจเข้าไปหากินในแหล่งน้ำจืดที่ไกลจากทะเล 300 กิโลเมตรได้ด้วย โดยคำว่า "แมนนาที" (manatí) มาจากภาษาตีโน ซึ่งเป็นชนเผ่าพื้นเมืองในแถบแคริบเบียน หมายถึง "เต้านม"

เขตอาศัยของพะยูนแมนนาทีได้แก่ พื้นที่หนองน้ำตื้นแถบชายฝั่งของอเมริกาเหนือ อเมริกากลาง อเมริกาใต้ และทะเลแคริบเบียน

เข้ามาดูวิดีโอของฉันใน Shopee Video คลิกเลย >>> https://th.shp.ee/e3btmkd?smtt=0.0.9

พะยูนแมนนาทีชนิด Trichechus senegalensis (พะยูนแมนนาทีแอฟริกาตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีเซเนกัล) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันตกของทวีปแอฟริกา ส่วนชนิด T. inunguis (พะยูนแมนนาทีแอมะซอน) อยู่อาศัยแถบชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้ ส่วนอีกชนิดหนึ่งได้แก่ T. manatus (พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตก หรือ พะยูนแมนนาทีแคริบเบียน) อยู่อาศัยแถบหมู่เกาะอินเดียตะวันตกในทะเลแคริบเบียน สำหรับแมนนาทีฟลอริดานั้น นักสัตวศาสตร์บางส่วนถือว่าได้สูญพันธุ์ไปแล้ว 

อย่างไรก็ตาม ระบบไอทีไอเอสจัดให้พะยูนแมนนาทีฟลอริดาเป็นชนิดย่อยของ T. manatus และปัจจุบันถือเป็นที่ยอมรับทั่วไปพะยูน แมนนาทีฟลอริดามีลำตัวยาว 4.5 เมตรหรือมากกว่านั้น และอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ในอดีตพะยูนแมนนาทีฟลอริดาเคยถูกล่าเพื่อเอาน้ำมันและหนัง แต่ปัจจุบันสัตว์ชนิดนี้ได้รับความคุ้มครองจากกฎหมายให้พ้นจากการถูกล่า


พะยูนแมนนาที

ในประเทศไทยสามารถชมแมนนาทีได้ที่ซาฟารีเวิลด์
พะยูนแมนนาทีอินเดียตะวันตกเป็นหนึ่งในกลุ่มสัตว์ชนิดที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ แม้มันจะไม่มีผู้ล่าตามธรรมชาติ แต่การขยายดินแดนของมนุษย์ทำให้ที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติแถบบึงน้ำตื้นชายฝั่งของมันลดลง พะยูนแมนนาทีจำนวนมากยังได้รับบาดเจ็บจากการถูกใบพัดเรือบาด อีกทั้งพะยูนแมนนาทียังมักกินอุปกรณ์ตกปลาที่มนุษย์ทิ้งไว้ เช่นเบ็ดหรือตุ้มถ่วงเข้าไปบ่อย ๆ 

วัตถุแปลกปลอมเหล่านี้โดยมากจะไม่ทำอันตรายแก่พะยูนแมนนาที ยกเว้นแต่สายเบ็ดหรือเอ็นตกปลา ซึ่งจะเข้าไปอุดตันระบบย่อยอาหารของพะยูนแมนนาที และทำให้มันค่อย ๆ ตายอย่างช้า ๆ


พะยูนแมนนาทีมักมารวมกันอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าซึ่งน้ำในแถบนั้นจะมีอุณหภูมิสูงกว่าที่อื่น จนกระทั่งกลายเป็นการพึงพิงแหล่งน้ำอุ่นที่มนุษย์สร้างขึ้นนี้ไปในที่สุด โดยไม่ยอมอพยพไปยังแหล่งที่น้ำอุ่นกว่าเนื่องจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะให้ความร้อนตลอดทั้งปี 

ไม่นานมานี้ โรงไฟฟ้าหลายแห่งได้ปิดตัวลง กรมคุ้มครองสัตว์น้ำและสัตว์ป่าของสหรัฐอเมริกาซึ่งทราบถึงการพึ่งพิงแหล่งน้ำอุ่นของพะยูนแมนนาที จึงได้พยายามหาหนทางที่จะเพิ่มอุณหภูมิของน้ำเพื่อช่วยพะยูนแมนนาที

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ชายนิวยอร์กสุดเฮง! พบ ขากรรไกรช้างดึกดำบรรพ์ขณะทำสวนหลังบ้าน


ฟันกรามของช้างมาสโตดอน ที่ถูกพบในสวนหลังบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองสก็อตช์ทาวน์ รัฐนิวยอร์ก

วงการโบราณคดีตื่นตะลึง เมื่อชายผู้หนึ่งค้นพบฟอสซิลขากรรไกรช้างดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า มาสโตดอน (mastodon) ขณะกำลังทำสวนหลังบ้านในรัฐนิวยอร์กเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา

โรเบิร์ต เฟราเนค เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์รัฐนิวยอร์ก กล่าวว่า ฟันกรามของช้างยักษ์โบราณตัวนี้พบที่สวนหลังบ้านแห่งหนึ่งใกล้เมืองสก็อตช์ทาวน์ ห่างจากตัวเมืองนิวยอร์กราว 112 กม. โดยตอนแรก เจ้าของบ้านนึกว่าเป็นลูกเบสบอล แต่เมื่อขุดขึ้นมาก็พบว่าเป็นฟันขนาดใหญ่

เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์และมหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก วิทยาเขตออเรนจ์เคาน์ตี ช่วยกันขุดหาซากฟอสซิลในพื้นที่นั้นและพบขากรรไกรช้างมาสโตดอนที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ รวมทั้งกระดูกนิ้วเท้าและกระดูกซี่โครงบางส่วน

เจ้าหน้าที่ระบุว่า ขากรรไกรที่พบนี้ถือว่ามีสภาพสมบูรณ์ที่สุดเท่าที่เคยพบในรัฐนิวยอร์กในรอบ 11 ปี

ที่ผ่านมามีการค้นพบซากฟอสซิลของช้างมาสโตดอนในรัฐนิวยอร์กมาแล้วกว่า 150 ชิ้น โดยสวนใหญ่พบในเขตออเรนจ์เคาน์ตี เช่นเดียวกับการค้นพบครั้งล่าสุดนี้


เฟราเนค กล่าวว่า ชิ้นส่วนที่พบนี้ "เพิ่มโอกาสที่จะศึกษาสัตว์สายพันธุ์ขนาดมหึมานี้มากขึ้น และยังช่วยให้เราสามารถทำความเข้าใจถึงระบบนิวเวศน์ในยุคน้ำแข็งของพื้นที่แถบนี้ได้"

โดยฟอสซิลขากรรไกรชิ้นลาสุดจะถูกนำไปวิเคราะห์เพื่อระบุอายุของช้างยักษ์ตัวนี้ รวมทั้งอาหารการกินและถิ่นที่อยู่ของมัน ก่อนที่จะนำไปจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชมในปีหน้า

ที่มา: เอพี

เต่าเสือดาว สีสันลวดลายแปลกตาสัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่า จัดเป็นเต่าบก


เต่าเสือดาว (อังกฤษ: Leopard tortoise; ชื่อวิทยาศาสตร์: Stigmochelys pardalis) สัตว์เลื้อยคลานประเภทเต่าชนิดหนึ่ง จัดเป็นเต่าบก (Testudinidae) ชนิดหนึ่ง


ลักษณะและพฤติกรรม
เต่าเสือดาว นับเป็นเต่าบกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Stigmochelysนับเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจาก เต่ากาลาปากอส, เต่าอัลดาบร้า และเต่าซูลคาต้า โดยมีขนาดกระดองยาวได้ถึง 23 นิ้ว (54.42 เซนติเมตร) 


ซึ่งโดยปกติตัวผู้มักจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวเมีย กระดองจะมีลายเป็นจุดแต้มสีดำบนผิวกระดองพื้นสีอ่อน จุดแต้มนี้มีทั้งที่มีขนาดใหญ่กระจายอยู่ห่างกันและที่อยู่ใกล้กัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย คือ

Stigmochelys pardalis babcocki (เต่าเสือดาวธรรมดา) เป็นชนิดที่พบได้ทั่วไป กระดองจะมีลักษณะกลมมนและเป็นโดมสูง

Stigmochelys pardalis pardalis (เต่าเสือดาวแอฟริกาใต้) เป็นชนิดที่พบได้ในแอฟริกาใต้ มีลักษณะรูปทรงกระดองไม่เป็นโดมเท่าแต่มีความยาวรีกว่า 
นอกจากนี้แล้ว เต่าเสือดาวที่พบในแอฟริกาใต้มีลักษณะเฉพาะอีกประการหนึ่ง นั่นคือ ผิวหนังจะมีการตกกระ โดยมีจุดดำเล็ก ๆ กระจายตามผิวหนัง กระนี้เห็นได้ชัดในลูกเต่าที่เพิ่งฟักจากไข่และเต่าวัยอ่อนก่อนจะค่อย ๆ เลือนหายไปตามอายุที่เพิ่มขึ้น ลูกเต่าที่เพิ่งฟักจากไข่จะมีลวดลายจำเพาะบนกระดอง 



เป็นลายจุด 2 จุดซึ่งจะอยู่บนแผ่นกระดองแต่ละแผ่น (หรืออาจกินพื้นที่มากกว่าหนึ่งแผ่น) เหมือนจุดแฝด จุดแฝดดังกล่าวจะค่อย ๆ เลือนหายไปเมื่อเต่าโตขึ้นเช่นกัน แต่จำนวนจุดคู่บนแผ่นกระดองของเต่าแต่ละตัวจะไม่เท่ากัน เต่าบางตัวอาจจะมีมากแต่บางตัวก็อาจจะไม่มีเลย แม้กระทั่งเต่าที่ฟักออกมาจากครอกเดียวกันบางตัวก็มีลายจุดบนกระดองในขณะที่บางตัวไม่มี



เต่าเสือดาว เป็นเต่าที่กินพืชเป็นอาหาร โดยมีหญ้าและผักใบเขียวเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้แล้วยังสามารถกินลูกแพร์หนาม ตลอดจนลำต้นและผลของต้นพืชอวบน้ำได้ด้วย โดยมีพฤติกรรมหาของกินตลอดทั้งวัน เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 12-15 ปี

พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่แห้งแล้งของทวีปแอฟริกา ตั้งแต่แอฟริกาใต้สะฮาราลงมาในหลายประเทศ เต่าเสือดาวที่พบในแอฟริกาใต้ พบได้ในจังหวัดเคป และบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออเรนจ์ฟรี โดยมีรายงานว่าพบมีการผสมพันธุ์ข้ามสายพันธุ์ระหว่างชนิดย่อยทั้ง 2 ชนิดกันด้วย

วันอาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เกือบ 200 รอย และสิ่งที่เรียกว่า ทางหลวงไดโนเสาร์


ภาพรอยเท้าไดโนเสาร์ทางเหนือของเมืองออกซ์ฟอร์ด ที่นักบรรพชีวินวิทยาเอ็มมา นิโคลส์ ร่วมกับหน่วยงานของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟ

นักวิทยาศาสตร์ค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์เกือบ 200 รอย และสิ่งที่เรียกว่า “ทางหลวงไดโนเสาร์” อายุ 166 ล้านปี ทางภาคใต้ของอังกฤษ

นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮม ระบุว่า คณะทำงานกว่า 100 ชีวิตร่วมขุดค้นทางโบราณคดีที่เหมืองแห่งหนึ่งในเมืองออกฟอร์ดเชียร์ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน และพบหลักฐานแนวรอยเท้าไดโนเสาร์จากยุคมิดเดิลจูราสสิก ซึ่งบางแนวมีความยาวกว่า 150 เมตร


ลองเข้ามาดูสินค้า Bonvolant ซัมมิท ควีน ถุงเท้าเพื่อสุขภาพ summit queen บงโวลอง แก้ปวด เมื่อย เส้นเลือดขอด ขายในราคา ฿1,900 ซื้อได้ในแอป Shopee ตอนนี้เลย!  

https://s.shopee.co.th/2qFfEvMe6C

แนวรอยเท้า 4 รอยเป็นของไดโนเสาร์กินพืชคอยาวขนาดใหญ่ในกลุ่มซอโรพอดส์ ที่เชื่อว่าเป็นพันธุ์ “เซทิโอซอรัส” ซึ่งอาจมีความยาวถึง 18 เมตร

ส่วนแนวรอยเท้าที่ 5 เป็นของ “เมกะโลซอรัส” ไดโนเสาร์กินเนื้อที่มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่สามนิ้วและมีกรงเล็บยาว


แนวรอยเท้าของไดโนเสาร์กินเนื้อและกินพืชที่ตัดผ่านกันเหมือนถนน 4 แยกนี้ ทำให้เกิดคำถามว่าไดโนเสาร์สองกลุ่มนี้มีปฏิสัมพันธ์อย่างไรในยุคหลายร้อยล้านปีก่อน


ริชาร์ด บัตเลอร์ ศาสตราจารย์ด้านบรรพชีวินวิทยา กล่าวว่า “นี่ไม่ใช่แค่แนวรอยเท้าไดโนเสาร์ขนาดใหญ่ที่สุดในอังกฤษเท่านั้น แต่ยังใหญ่ที่สุดในโลกอีกแห่งหนึ่งด้วย