วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2567

พบวาฬโอมูระเผือก (Balaenoptera omurai)รายแรกเมืองไทย


ภารกิจการสำรวจวาฬโอมูระเผือกสำคัญอย่างไร
        
ฟังดูเป็นเรื่องตื่นเต้นที่มีการพบวาฬโอมูระเผือก (Balaenoptera omurai) เพราะมีความโดดเด่น แปลกตา ซึ่งอาจเป็นเรื่องดีที่ทำให้ผู้คนหันมาสนใจเรื่องของวาฬและการอนุรักษ์มากขึ้น แต่ในเชิงชีววิทยาการพบลักษณะเผือก (Albinism) เป็นสิ่งไม่ดีนักเนื่องจากเป็นการแสดงออกของยีนด้อยที่ชื่อ Tyrosinase gene 


มีผลทำให้การสร้าง Melanin น้อยกว่าปกติหรือสร้างไม่ได้เลย ลักษณะเผือกมักก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพกับสัตว์ เช่น ผิวหนังมีความไวต่อแสงแดดมากขึ้น มีปัญหาเรื่องการมองเห็น และเป็นจุดสนใจของผู้ล่า ภาวะเผือกสามารถพบได้ทั้งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม นก ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ในกลุ่มโลมาและวาฬ มีรายงานยืนยันภาวะเผือก เช่น วาฬหลังค่อม (Megaptera novaeangliae) ที่ออสเตรเลีย วาฬหัวทุย (Physeter macrocephalus) ที่โปรตุเกส วาฬเพชฌฆาต (Orcinus orca) ที่รัสเซีย และวาฬริสโซ่ (Grampus griseus) ที่อเมริกา 
        
วาฬโอมูระได้รับขึ้นบัญชีเป็นสัตว์ป่าสงวน โดยเหตุผลที่สำคัญคือจำนวนประชากรในประเทศไทยน้อยกว่า 50 ตัว และเป็นสัตว์ประจำถิ่นที่พบแพร่กระจายเฉพาะในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อดูจากแผนที่การแพร่กระจายและภูมิศาสตร์ กลุ่มวาฬโอมูระฝั่งทะเลอันดามันมีแนวโน้มแยกตัวจากกลุ่มประชากรหลักทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้เชื่อว่าประชากรวาฬโอมูระฝั่งอันดามัน มีจำนวนประชากรน้อยมาก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการผสมกันเองมากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดสภาวะเผือก ทำให้การอนุรักษ์มีความยากและท้าทายมากในการรักษากลุ่มประชากรโอมูระเฉพาะถิ่นฝั่งทะเลอันดามัน

 

 การหาคำตอบของจำนวนประชากร การแพร่กระจาย สุขภาพ ความสัมพันธ์กับกลุ่มประชากรอื่น ตลอดจนภัยคุกคาม จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการวางแผนและดำเนินการอนุรักษ์อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเราต้องทุ่มเททุกอย่างที่มีเพื่อให้ได้ข้อมูลเหล่านี้ ข้อมูลดีเอ็นเอจากวาฬโอมูระเผือกและวาฬโอมูระตัวอื่นๆ จะช่วยให้นักวิจัยทราบถึงความหลากหลายทางพันธุกรรม ปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ 

ตลอดจนการไปมาหาสู่กับกลุ่มประชากรในอีกฝากฝั่งทะเล เป็นสิ่งที่รอการพิสูจน์ให้ชัดเจน และหากข้อสมมุติฐานของการแยกกลุ่มประชากรย่อยเป็นจริง นั่นคือความรับผิดชอบที่เราต้องรักษากลุ่มประชากรหนึ่งเดียวของโลกนี้ไว้

วันอังคารที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2567

สุดสยอง พบ ‘เฮอร์คิวลิส’ แมงมุมใยกรวย ตัวผู้ที่ตัวใหญ่สุดในโลก การกัดเพียงครั้งเดียวของมันก็เพียงพอจะทำให้คนตายได้ภายใน 15 นาที


สุดสยอง พบ ‘เฮอร์คิวลิส’ แมงมุมใยกรวย ตัวผู้ที่ตัวใหญ่สุดในโลก การกัดเพียงครั้งเดียวของมันก็เพียงพอจะทำให้คนตายได้ภายใน 15 นาที 

นักวิทยาศาสตร์หวังนำพิษของมันไปวิจัยยาต้านพิษในอนาคต

แมงมุมใยกรวย (Funnel-Web Spider) เป็นหนึ่งในแมงมุมที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก พวกมันขึ้นชื่อเรื่องเขี้ยวขนาดใหญ่ และมีรอยกัดที่น่ากลัว โดยทั่วไปแล้วจะมีขนาดตั้งแต่ 1-5 เซนติเมตร และตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ แต่เจ้าของสถิติตัวผู้ตัวใหม่ที่ชื่อว่า ‘เฮอร์คิวลิส’ นี้มีความยาวถึง 7.9 เซนติเมตร

ล้มแชมป์เจ้าที่ชื่อ ‘โคอลอสซัส’ (Colossus) ที่มีขนาด 7 เซนติเมตรซึ่งก็เป็นตัวผู้เหมือนกันไปอย่างขาดลอย เฮอร์คิวลิสถูกพบแถวชายฝั่งตอนกลางของออสเตรเลีย ห่างจากซิดนีย์ไปทางเหนือ 80 กิโลเมตร จากนั้นคนที่พบก็ส่งต่อให้กับสวนสัตว์เลื้อยคลานออสเตรเลีย (Australian Reptile Park) 

“ตอนที่ฉันเห็นเฮอร์คิวลิสครั้งแรก ฉันคิดว่ามันต้องเป็นตัวเมียแน่ ๆ เพราะมันตัวใหญ่มาก. Emma Teni ผู้ดูแลแมงมุมของสวนกล่าว เพราะก่อนหน้านี้เพิ่งพบตัวเมียขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งมีชื่อว่า ‘เมก้าสไปเดอร์’ มันมีขนาด 8 เซนติเมตร ด้วยขนาดที่ใกล้เคียงกันมาก จึงอาจทำให้เข้าใจผิดได้

ตอนนี้เฮอร์คิวลิสได้อยู่ที่สวนอย่างปลอดภัย และจะทำหน้าที่ในโครงการ Spider Venom เพื่อผลิตเซรุ่มต้านพิษ โดยมีแมงมุมกว่า 2,000 ตัวตั้งแต่เด็กไปจนถึงตัวเต็มวัยที่อยู่ในโครงการนี้และถูกรีดพิษตามตาราง พิษเหล่านี้จะถูกฉีดเข้าไปในสัตว์ทดลอง(ถูกกฎหมาย)ปริมาณน้อยมาก เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ (Antibody) ต่อสารพิษ

จากนั้นนักวิทยาศาสตร์จะเจาะเลือดจากสัตว์ทดลองแล้วนำไปหมุนเหวี่ยงด้วยเครื่องเพื่อแยกแอนติบอดี้ออก แล้วเก็บส่งไปวิจัยต่อเพื่อกลายเป็นเซรุ่มให้กับคนที่โดนแมงมุมกัด ตามรายงานของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียระบุว่า โดยทั่วไปแล้วจะมีคนถูกกัด 30-40 คนต่อปี Teni เสริมว่าต้องรีดพิษ 120-200 ครั้งเพื่อให้ได้เซรุ่ม 1 ขวด


จากแมงมุมใยกรวยเกือบ 40 สายพันธุ์ มีเพียงสปีชีส์ของเฮอร์คิวลิสเท่านั้นที่ฆ่าคนได้ ซึ่งเป็นสายพันธุ์ แมงมุมใยกรวยซิดนีย์ (Atrax Robustus) อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า “ทุกสายพันธุ์ควรได้รับการพิจารณาว่าอาจเป็นอันตราย” (กันไว้ดีกว่าแก้) เนื่องจากพิษของพวกมันอาจทำให้อัมพาต ฆ่าเด็กได้ภายใน 15 นาที และฆ่าผู้ใหญ่ได้ภายใน 3 วัน 

“แม้ว่าแมงมุมใยกรวยตัวเมียจะมีพิษ แต่แมงมุมตัวผู้ได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีพิษอันตรายถึงตายมากกว่า ด้วยการมีตัวผู้ขนาดใหญ่ในสวนของเรา พิษของเขาจะมีค่ามหาศาลในโครงการของเรา” Teni บอก 

ถ้าคุณเห็นแมงมุมหน้าตาแบบนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงทันที

วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

ทำไมจึงตั้งชื่อว่าถนนดินสอ..ถนนดินสอถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เรามีคำตอบไว้ให้คุณ


ทำไมจึงตั้งชื่อว่าถนนดินสอ..ถนนดินสอถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ 
เรามีคำตอบไว้ให้คุณ

ถนนดินสอ (อักษรโรมัน: Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร



ถนนดินสอ
Devasathan Bangkok (2021).jpg
ถนนดินสอบริเวณเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว
0.850 กิโลเมตร (0.528 ไมล์; 2,790 ฟุต)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้
วงเวียนเสาชิงช้า ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศเหนือ
แยกสะพานวันชาติ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

👉ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ"


👉จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 เพื่อขยายเส้นทางสัญจรในพื้นที่พระนคร จึงได้ชื่อว่า "ถนนดินสอ" ตราบจนปัจจุบัน แต่อาชีพทำดินสอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว


👉ถนนดินสอ ในปัจจุบัน เป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่ขึ้นชื่อหลายร้านเช่นเดียวกับถนนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งนรา มีอาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารตามสั่ง, อาหารไทย, ข้าวแกง, โจ๊ก, นมสดและขนมปังปิ้ง, ข้าวมันไก่, เป็ดย่าง, เย็นตาโฟ, ขนมหวาน, ถั่วคั่ว, โบ๊กเกี้ย และขนมไทย เป็นต้น


😀น่าสนใจมากเลยนะครับถนนต่างๆที่ชื่อมีเอกลักษณ์ของตัวเองย่อมมีที่มาที่ไปของสถานที่แห่งนั้นเสมอ ว่างๆก็ลองไปเดินเที่ยวเล่นแถวถนนดินสอกันบ้างนะครับเพื่อนๆ