วันพุธที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2567

ไปรสนียาคาร กิจการไปรษณีย์ไทย แห่งแรกของประเทศไทย


ไปรสนียาคาร
อาคารนี้ ก่อสร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2414  ตั้งอยู่ปากคลองโอ่งอ่างริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร 

ซึ่งเป็นบริเวณบ้านเดิมของพระปรีชากลการ (สำอางค์ อมาตยกุล) อดีตเจ้าเมืองปราจีนบุรี ซึ่งต้องคดีข้อหา ฆ่าคนตายและทารุณกรรม แก่คนไทยที่เมืองกบินทร์บุรี พระยาปรีชากลการถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 และถูกยึดทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกิจการไปรษณีย์ไทย เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2426

โดยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ ทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีผู้สำเร็จราชการไปรษณีย์และโทรเลขพระองค์แรก ได้ใช้บ้านเดิมของพระปรีชากลการ เป็นที่ทำการ ใช้ชื่อเรียกว่า "ไปรสนียาคาร" หลังจากนั้นใน พ.ศ.2496 ไปรสนียาคารได้ปรับปรุงเป็นอาคารเรียน “โรงเรียนกรมไปรษณีย์และโทรเลข” 


เพื่อเป็นสถานที่ผลิตพนักงานไปรษณีย์ให้บริการประชาชน ก่อนจะถูกทุบทิ้งในปีพ.ศ 2525เพื่อเปิดทางสร้างสะพานพระปกเกล้าเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาขนานกับสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งถึงแม้ “ไปรสนียาคาร”จะรื้อถอนไป 

แต่ก็ยังเป็นสัญลักษณ์ที่คนไทยมักนึกถึงเมื่อพูดถึงเกี่ยวกับกิจการไปรษณีย์เสมอมา.