สะพานซามูไร หรือสะพานคินไต เมืองอิวาคุนิ ประเทศญี่ปุ่น
ในปี ค.ศ. 1600 ชาวเมืองอิวาคุนิประสบปัญหาใหญ่ คือ แม่น้ำนิชิกิ ที่เชี่ยวกราก และไม่สามารถคาดเดาได้ของกระแสน้ำ มีความยากลำบากและอันตรายต่อการข้ามไปมา อย่างไรก็ตาม ซามูไรที่อาศัยอยู่ทางฝั่งแม่น้ำนิชิกิ ต้องการหาวิธีเดินทางที่ปลอดภัยเพื่อไปยังโยโกยามะ ซึ่งพวกเขาปฏิบัติหน้าที่รอบๆ ปราสาท และเมืองปราสาท
สะพานเคยถูกสร้างขึ้นมาหลายครั้งเพื่อข้ามแม่น้ำ แต่ทุกครั้งที่ฝนตกหนัก สะพานก็จะถูกน้ำพัดหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม้ที่พัดมากองอยู่บนเสาของสะพานและทำให้สะพานพังทลายลงไป และแล้ว 73 ปีต่อมา ในที่สุดแบบแปลนที่ออกโดยฮิโรโยชิ คิกกาวะ ผู้ครองแคว้นอิวาคุนิคนที่สาม ก็ประสบความสำเร็จ ผลลัพธ์ที่ได้ คือสะพานคินไต ที่ใช้งานได้อย่างสวยงาม
สะพานทอดยาว 200 เมตร มีซุ้มโค้งอันงดงาม 5 ซุ้มโค้ง ได้รับการรองรับด้วยเสาหินที่ฝังลึกลงไปในแม่น้ำ ความสวยงามของการออกแบบเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดชื่อ “คินไต” ซึ่งแปลว่าผ้าคาดเอวทอสีทอง ซึ่งมาจากชุดโอบิ แบบนิชิกิดั้งเดิม ที่สวมกับกิโมโน
หลังจากผ่านการใช้งานมา 276 ปี สะพานแห่งนี้ก็ถูกธรรมชาติกลืนกินอีกครั้ง ความชำรุดทรุดโทรมทำให้สะพานนี้เสี่ยงที่พังทะลายลงมา
ชาวเมืองได้ยื่นคำร้องต่อที่ปรึกษาเทศบาลเมืองอิวาคุนิ เพื่อให้สร้างสะพานขึ้นใหม่โดยใช้แบบเดิม ในที่สุดสะพานก็ได้รับการสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งในสามปีต่อมา และตั้งตระหง่านมาตั้งแต่ปี 1953 วิศวกรรมของสะพานเดิมนั้นมีความรู้ความสามารถมากเมื่อเทียบกับมาตรฐานในปัจจุบัน ดังนั้นแบบดั่งเดิมจึงยังคงไว้เดิม สะพานแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญและเป็นหนึ่งในสะพานที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในญี่ปุ่น
ในอดีต มีเพียงซามูไรเท่านั้น ที่ได้รับอนุญาตให้ข้ามสะพานได้ ปัจจุบัน มีการเก็บค่าธรรมเนียมเล็กน้อยก็สามารถเดินข้ามได้ ฝั่งนิชิกิของสะพาน
มีโรงแรมและศูนย์ข้อมูลการท่องเที่ยว ฝั่งโยโกยามะ มีสวนสาธารณะซึ่งเหมาะสำหรับการชมดอกซากุระ ร้านอาหารและร้านไอศกรีมหลายร้าน รวมถึงร้านขายของที่ระลึก
แม้ว่าปัจจุบันแม่น้ำดังกล่าวจะกลายเป็นเพียงลำธารเล็กๆ แต่แม่น้ำก็ยังคงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ สะพานตั้งอยู่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวอื่นๆ ในเมือง เช่น ปราสาทอิวาคุนิ สถานที่ชมงูขาวศักดิ์สิทธิ์แห่งอิวาคุนิ และเส้นทางเดินป่า
มีการจัดเทศกาลต่างๆ ในพื้นที่ตลอดทั้งปี รวมถึงการเดินขบวนซามูไรและการแสดงดอกไม้ไฟ กิจกรรมพิเศษอย่างหนึ่งคือการสาธิตการตกปลาด้วยนกกระทุง