วันอาทิตย์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2567

ทำไมจึงตั้งชื่อว่าถนนดินสอ..ถนนดินสอถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เรามีคำตอบไว้ให้คุณ


ทำไมจึงตั้งชื่อว่าถนนดินสอ..ถนนดินสอถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ 
เรามีคำตอบไว้ให้คุณ

ถนนดินสอ (อักษรโรมัน: Thanon Dinso) ถนนเส้นหนึ่งในพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีจุดเริ่มต้นที่วงเวียนเสาชิงช้าที่ถนนบำรุงเมือง บริเวณหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ และทอดยาวออกไปยังถนนราชดำเนินกลางผ่านอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปสิ้นสุดลงที่แยกสะพานวันชาติ เชิงสะพานเฉลิมวันชาติ โดยเป็นถนนที่เป็นเส้นตรงตลอดทั้งสาย มีความยาวทั้งสิ้น 850 เมตร



ถนนดินสอ
Devasathan Bangkok (2021).jpg
ถนนดินสอบริเวณเทวสถานโบสถ์พราหมณ์

ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว
0.850 กิโลเมตร (0.528 ไมล์; 2,790 ฟุต)
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศใต้
วงเวียนเสาชิงช้า ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร


อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
ปลายทางทิศเหนือ
แยกสะพานวันชาติ ในเขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

👉ถนนดินสอ เป็นถนนที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เหตุที่ได้ชื่อว่า "ดินสอ" เนื่องจากแถบนี้ในช่วงกรุงศรีอยุธยา ผู้คนที่อาศัยอยู่ที่นี่มีอาชีพทำดินสอและกระดาษ จนได้ชื่อว่า "ย่านป่าดินสอ" ปรากฏเป็นหลักฐานในเอกสารจากหอหลวง เรื่องคำให้การขุนหลวงวัดประดู่ ความว่า "ย่านป่าดินสอ ริมวัดพระงาม มีร้ายขายดินสอศิลาอ่อนแก่ แลดินสอขาวเหลือง ดินสอดำ ชื่อตลาดบ้านดินสอ"


👉จนล่วงมาถึงยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ อาชีพทำดินสอของผู้คนแถบนี้ก็ยังคงอยู่ และถูกเรียกว่า "ย่านดินสอ" หรือ "บ้านดินสอ" ต่อมามีการสร้างถนนขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 เพื่อขยายเส้นทางสัญจรในพื้นที่พระนคร จึงได้ชื่อว่า "ถนนดินสอ" ตราบจนปัจจุบัน แต่อาชีพทำดินสอไม่หลงเหลืออยู่อีกแล้ว


👉ถนนดินสอ ในปัจจุบัน เป็นแหล่งรวมร้านอาหารที่ขึ้นชื่อหลายร้านเช่นเดียวกับถนนที่อยู่ใกล้เคียง เช่น ถนนตะนาว, ถนนมหรรณพ, ถนนแพร่งภูธร, ถนนแพร่งนรา มีอาหารหลากหลายชนิด เช่น อาหารตามสั่ง, อาหารไทย, ข้าวแกง, โจ๊ก, นมสดและขนมปังปิ้ง, ข้าวมันไก่, เป็ดย่าง, เย็นตาโฟ, ขนมหวาน, ถั่วคั่ว, โบ๊กเกี้ย และขนมไทย เป็นต้น


😀น่าสนใจมากเลยนะครับถนนต่างๆที่ชื่อมีเอกลักษณ์ของตัวเองย่อมมีที่มาที่ไปของสถานที่แห่งนั้นเสมอ ว่างๆก็ลองไปเดินเที่ยวเล่นแถวถนนดินสอกันบ้างนะครับเพื่อนๆ