ที่ประเทศจีน พบ อานม้า ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อาจเกิดขึ้นที่ประเทศจีน
นักโบราณคดีพบ อานม้า หนังโบราณในหลุมศพของหญิงชาวจีน ที่นำไปสู่บันทึกสำคัญในประวัติศาสตร์โลกด้านสิ่งประดิษฐ์และอารยธรรม
มีสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างในโลกที่ถูกพบว่าก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศจีน ล่าสุด ณ สุสาน Yanghai ใกล้เมือง Turpan หรือ ทู่พาน มีการค้นพบ อานม้า ที่เชื่อว่าอายุเก่าแก่ที่สุดในโลก คือเมื่อ 2,700 ปีก่อน
อานม้า นี้เป็นของหญิงเลี้ยงสัตว์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีน โดยถูกซุกไว้ในเสื้อคลุมที่ทำจากหนังสัตว์ กางเกงขนสัตว์ และรองเท้าบูทหนัง ถูกฝังไว้พร้อมกับอานม้าของเธอ
ต่อมามีการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์พบว่า อานม้า ดังกล่าว มีอายุระหว่าง 700 ถึง 400 ปีก่อนคริสตกาล จึงกลายเป็นอานม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่ถูกค้นพบ ความน่าสนใจคือ ทำไมในยุคนั้นถึงมีการการสร้างอานขึ้นมา
แพทริค เวิร์ตมันน์ (PATRICK WERTMANN) จากมหาวิทยาลัยซูริก ผู้ศึกษาเรื่องอานม้าดังกล่าว และถูกตีพิมพ์ในวารสาร Archaeological Research in Asia ระบุว่า การค้นพบนี้เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ ในทางโบราณคดีการค้นพบอานม้าพบหาได้ยาก เพราะส่วนประกอบของอานม้ามักจะสลายตัวง่าย อุปกรณ์เกี่ยวกับม้าประเภทอื่นๆ อย่าง บังเหียน โกลนม้า แส้ ซึ่งถูกขุดพบบ่อยกว่า
อานม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
อานม้าแห่งแอ่งอารยธรรมถูหลู่ฟาน ณ สุสาน Yanghai (หยางไห่) ถูกขนานนามว่า อานม้า Yanghai อาจไม่ใช่อานม้าชิ้นแรกของโลก แต่ถูกบันทึกว่ามีความเก่าแก่ที่สุดในตอนนี้ โดยก่อนหน้านี้ตำแหน่งนี้เป็นของ อานม้าของ Pazyryk ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่พื้นที่อัลไตของประเทศคาซัคสถานและรัสเซียทางตอนเหนือ และถึอว่า ชาว ไซเธียนส์ จากเมือง Pazyryk เป็นกลุ่มผู้บุกเบิกการใช้อานม้าในช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช
มีความเป็นไปได้ว่า อานม้า Yanghai กับ อานม้า Pazyryk อาจมีความเชื่อมโยงกัน โดยวัฒนธรรมการขี่ม้าอาจได้รับการแพร่หลายจากทางตะวันตกเฉียงเหนือของจีนไป สู่ภูมิภาค Pazyryk และเป็นไปได้ว่าการใช้อานม้าก็ถูกส่งต่อไปด้วยเช่นกัน
ที่นั่งบนหลังม้า
อานม้า Yanghai มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ปัจจุบันถูกเก็บการอนุรักษ์ไว้ในพื้นที่เดิม เพราะการเคลื่อนย้ายออกนอกพื้นที่ แล้ววัตถุไปพบกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาจเกิดว่าเสียหายขึ้น ซึ่งการค้นพบในครั้งนี้ให้ข้อมูลเชิงลึกมากมายเกี่ยวกับวิวัฒนาการและนวัตกรรมการขี่ม้าในยุคแรกๆ
อานม้าดังกล่าว สร้างมาจากหนังสัตว์ บริเวณปีกทั้งสองข้างเต็มไปด้วยฟาง ขนกวาง และขนอูฐ ถูกเย็บติดกันตามขอบด้านนอกและคั่นด้วยส่วนที่คล้ายกับเครื่องในสัตว์เพื่อช่วยลดแรงกดทับกระดูกสันหลังของม้า
สำหรับการผลิตอานม้าขึ้น เชื่อว่าเกิดจากความใส่ใจที่เรื่องความสะดวกสบายและความปลอดภัยของผู้ขี่ม้า รวมถึงการถนอนการใช้งานม้าซึ่งอานม้าทำให้มนุษย์ในยุคนั้นสามารถเดินทางได้ในระยะทางที่ไกลขึ้น มีส่วนในการขยายอารยธรรม โดยอานในยุคแรกๆ ทำจากวัสดุง่ายๆ และใช้งานผู้หญิงชาวบ้านทั่วไป ต่างจากการค้นพบที่ Pazyryk ที่อานม้าถูกใช้งานโดยชาวไซเธียนชั้นสูงในสังคม
มนุษย์เริ่มขี่ม้าเมื่อไหร่?
ผู้คนเริ่มขี่ม้าและเริ่มใช้อานม้าเมื่อไหร่ เป็นหัวข้อที่ถกเถียงกันมากในวงการประวัติศาสตร์โลก โดยในรายงานชิ้นหนึ่งเปิดเผยว่า การขี่ม้ามีต้นกำเนิดในประเทศโรมาเนีย บัลแกเรีย และฮังการีในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งในหลายศตวรรษก่อนที่อานจะถือกำเนิดขึ้น นักขี่ม้าจะขี่ม้าบนหลังเปล่าหรือนั่งบนเสื่อหรือผ้าห่ม
อานม้า Yanghai เปลี่ยนแปลงความคิดสำคัญของนักประวัติศาสตร์หลายคนที่เคยสันนิษฐานว่า อานม้า ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้มนุษย์ผู้ชายใช้งานทางการทหาร แต่การค้นพบอานม้าในหลุมศพของผู้หญิงโบราณในจีน บ่งบอกว่าผู้หญิงก็มีกิจกรรมประจำวันในการขี่ม้า เลี้ยงสัตว์ และการเดินทางเช่นกัน
ส่วนในจีน ม้าและการขี่ม้าเป็นสิ่งที่นิยมในอารยธรรมจีนโบราณ ก่อนหน้านี้โบราณวัตถุเกี่ยวกับม้าที่เก่าแก่ที่สุดสองอันของจีนคือ ม้าทองสัมฤทธิ์ในช่วงปี 1191–1148 ก่อนคริสต์ศักราช ซึ่งมีการใส่เสื่อเรียบๆ แทนอานม้า และกระจกสีบรอนซ์ที่มีอายุระหว่าง 770 ถึง 256 ปีก่อนคริสตกาล มีภาพคนขี่ม้าตกแต่งด้วยอานม้าแบบเดียวกับที่พบในพื้นที่ Yanghai
ขณะที่อานม้าของทหารม้าดินเผาที่มีชื่อเสียงของราชวงศ์ฉิน ช่วงยุค 246 ถึง 208 ปีก่อนคริสตกาล มีความซับซ้อนมาก และชวนให้นึกถึงการออกแบบอานม้าของชาวไซเธียน