วันจันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

สยามโมดอน นิ่มงามมิ ไดโนเสาร์ที่ขุดพบในประเทศไทยแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

วันนี้ขอนำเสนอไดโนเสาร์ชนิดหนึ่งที่พบและขุดพบได้ในประเทศไทยที่มีชื่อว่าสยามโมดอน นิ่มงามมิ แหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา




เรามาชมกันเลยดีกว่านะครับว่าไดโนเสาร์ชนิดนี้จะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

สยามโมดอน นิ่มงามมิ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ช่วงอายุแอปเชียน
~120–113Ma 
PreꞒꞒOSDCPTJKPgN


สถานะการอนุรักษ์สูญพันธ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร:Animalia
ไฟลัม:Chordata
ชั้น:Sauropsida
อันดับใหญ่:Dinosauria
อันดับ:Ornithischia
อันดับย่อย:Ornithopoda
สกุล:Siamodon
Buffetaut & Suteethorn, 2011
ชนิดต้นแบบ


สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami)[1] เป็นไดโนเสาร์ ออร์นิโธพอด กลุ่มที่เรียกว่า อิกัวโนดอนเทีย (Iguanodontia) พบชิ้นส่วนกระดูกขากรรไกรบนด้านซ้าย (PRC-4), ฟันจากขากรรไกรบนเดี่ยวๆ 1 ซี่ (PRC-5), และกระดูกส่วนสมองด้านท้ายทอย (PRC-6) จากแหล่งขุดค้นบ้านสะพานหิน ตำบลสุรนารี อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 


โดยผู้ที่พบคือ นายวิทยา นิ่มงาม พบฟันและกระดูกไดโนเสาร์ ในหินกรวดมนปนปูน หมวดหินโคกกรวด ยุคครีตาเชียสตอนต้น มีอายุประมาณ 125 - 113 ล้านปีมาแล้ว

สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ที่มียอดสามเหลี่ยมไม่สูงนัก ซึ่งมีความยาวทางด้านหน้าสามเหลี่ยม กับด้านหลังสามเหลี่ยมเกือบเท่าๆ กัน คือมีความยาวของขากรรไกรบน 230 มิลลิเมตร และมีความสูง 100 มิลลิเมตร , มีส่วนโป่งของพื้นผิวด้านในของขากรรไกรบน เป็นแนวยาวที่เด่นชัด , มีฟันของขากรรไกรบน ประมาณ 25 ซี่ 

ซึ่งมีสันอยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟันจำนวน 1 สันที่เด่นชัดมาก และบางทีอาจมีสันเล็กๆ บางๆ อยู่ด้านข้างของสันใหญ่ อีก 1 สัน หรืออาจไม่มีเลยก็ได้ , ความยาวของฟันประมาณ 25 - 28 มิลลิเมตร และความกว้างของฟันประมาณ 14 - 17 มิลลิเมตร

สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์พวกอิกัวโนดอนเทียแรกเริ่ม (basal iguanodontia) เช่น ไดโนเสาร์วงศ์ อิกัวโนดอน (Iguanodontids) ตรงที่มีลักษณะของ "ฟัน" ของขากรรไกรบน ที่ไม่เหมือนกัน โดยไดโนเสาร์วงศ์อิกัวโนดอน จะมีสันฟันไม่ได้อยู่ตรงกลางตามแนวยาวของฟัน และยังมีสันฟันเล็กๆ อยู่ด้านข้างอยู่อีกหลายๆ สัน นอกจากนี้ ยังมีลักษณะของส่วนยอดของขากรรไกรบน จะอยู่ในตำแหน่งที่คล้อยไปทางด้านหลังอีกด้วย


สยามโมดอน แตกต่างจากไดโนเสาร์ วงศ์ฮาโดรซอร์ (Hadrosaurids) ตรงที่บริเวณการประสานต่อกัน ของกระดูกโหนกแก้ม (jugal) กับกระดูกขากรรไกรบน โดยมีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม (jugal process) มีลักษณะเป็น "แถบแบน" ในขณะที่ไดโนเสาร์วงศ์ฮาโดรซอร์ จะมีลักษณะการขยายทางส่วนหน้าของกระดูกโหนกแก้ม และ อยู่เหลื่อมกันบริเวณรอยต่อของกระดูกขากรรไกรบน


สยามโมดอน นิ่มงามมิ มีลักษณะของกระดูกขากรรไกรบนคล้ายคลึงกับไดโนเสาร์ โปรแบคโตรซอรัส (Probactrosaurus) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยพิจารณาจากลักษณะที่มีส่วนยื่นของกระดูกโหนกแก้ม ที่เป็นแถบแบน เหมือนกัน แต่จะแตกต่างกันครงที่ มีจำนวนฟันของกระดูกขากรรไกรบน ที่น้อยกว่า Probactrosaurus

ยังไงบ้างครับไดโนเสาร์ประเทศไทยที่ขุดพบรู้สึกว่ามันจะดูน่ารักดีนะครับไดโนเสาร์ตัวนี้แถมชื่อก็ดูดีไปด้วยสยามโมดอน นิ่มงามมิ การตั้งชื่อก็เป็นเกียรติกับผู้ที่ขุดพบได้เป็นคนแรกเยี่ยมมากๆเลยนะครับ