วันจันทร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

แปลกแต่จริงเมื่องานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์


แปลกแต่จริงเมื่องานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์

การศึกษาฉบับใหม่ พบว่า ลิงในวงศ์ลิงใหญ่ (Great Apes) อย่างชิมแปนซี กอริลลา อูรังอูตัง และลิงโบโนโบ หยอกล้อกับลิงตัวอื่นในแบบเดียวกันกับที่มนุษย์ในวัยเด็กทำ

อิซาเบล เลาเมอร์ นักวิจัยจากสถาบันพฤติกรรมสัตว์ Max Plank Institute of Animal Behaviour อธิบายกับรอยเตอร์ว่า การแกล้งกันของลิง มีทั้งการแอบไปทำให้ลิงตัวอื่นตกใจจากด้านหลัง หรือทุบตี รวมถึงดึงผมหรือชูสิ่งของใส่หน้าลิงอีกตัว

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Proceedings of the Royal Society B โดยทีมผู้วิจัยได้เผยแพร่วิดีโอที่แสดงให้เห็นลิงวัยรุ่นในวงศ์ลิงใหญ่ กำลังแกล้งสมาชิกฝูงตัวอื่น เช่นลิงชิมแปนซีที่สวนสัตว์ไลป์ซิก ที่แกล้งลิงที่โตเต็มวัยเพศเมียด้วยการเข้าไปชน ทุบตีที่หลังอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะวิ่งหนี แล้วหันกลับมามองดูว่าลิงเพศเมียมีท่าทีอย่างไร

เลาเมอร์กล่าวว่า เธอรู้สึกทึ่งกับพฤติกรรมของลิง ที่หันกลับมามองว่าผู้ถูกแกล้งมีท่าทีอย่างไร โดยระบุว่า “มันน่าสนใจจริง ๆ ในแง่ที่ลิงไม่ได้แค่ลงมือแกล้ง แต่มันยังรอคอยการตอบสนอง มันคาดหวัง (ที่จะเห็น) ใบหน้าของเป้าหมาย”

การหยอกล้อกันในหมู่มนุษย์ สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุดเมื่อมีอายุ 8 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วกว่าการเริ่มที่จะพูดได้เสียอีก โดยทั่วไปการหยอกล้อมักจะเป็นการทำท่าจะยื่นของบางอย่างให้พ่อแม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนใจเก็บของนั้นไว้กับตัว

การหยอกล้อในหมู่ลิงมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในแง่ที่มีทั้งการยั่วยุ การเซ้าซี้ และมีท่าทีในลักษณะหยอกเอินและทำในสิ่งที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง

ทีมวิจัยกล่าวว่า แม้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนี้อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีงานศึกษาของเจน กู๊ดออล และนักวานรวิทยารายอื่นที่ระบุถึงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ลิงในวงศ์ลิงใหญ่มีพฤติกรรมการหยอกล้อที่คล้ายมนุษย์ ก็เป็นไปได้ว่าต้นกำเนิดของสิ่งที่วิวัฒนาการมาเป็นการสร้างอารมณ์ขำขันในมนุษย์ อาจมีที่มายาวนานอย่างน้อย 13 ล้านปี ในช่วงที่คาดว่าวงศ์เชื้อสายมนุษย์กับลิงยังไม่แยกขาดจากกันงานวิจัยชี้ ลิงหยอกล้อกับเพื่อน ๆ ได้เหมือนมนุษย์


การศึกษาฉบับใหม่ พบว่า ลิงในวงศ์ลิงใหญ่ (Great Apes) อย่างชิมแปนซี กอริลลา อูรังอูตัง และลิงโบโนโบ หยอกล้อกับลิงตัวอื่นในแบบเดียวกันกับที่มนุษย์ในวัยเด็กทำ

อิซาเบล เลาเมอร์ นักวิจัยจากสถาบันพฤติกรรมสัตว์ Max Plank Institute of Animal Behaviour อธิบายกับรอยเตอร์ว่า การแกล้งกันของลิง มีทั้งการแอบไปทำให้ลิงตัวอื่นตกใจจากด้านหลัง หรือทุบตี รวมถึงดึงผมหรือชูสิ่งของใส่หน้าลิงอีกตัว

งานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ Proceedings of the Royal Society B โดยทีมผู้วิจัยได้เผยแพร่วิดีโอที่แสดงให้เห็นลิงวัยรุ่นในวงศ์ลิงใหญ่ กำลังแกล้งสมาชิกฝูงตัวอื่น เช่นลิงชิมแปนซีที่สวนสัตว์ไลป์ซิก ที่แกล้งลิงที่โตเต็มวัยเพศเมียด้วยการเข้าไปชน ทุบตีที่หลังอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะวิ่งหนี แล้วหันกลับมามองดูว่าลิงเพศเมียมีท่าทีอย่างไร

เลาเมอร์กล่าวว่า เธอรู้สึกทึ่งกับพฤติกรรมของลิง ที่หันกลับมามองว่าผู้ถูกแกล้งมีท่าทีอย่างไร โดยระบุว่า “มันน่าสนใจจริง ๆ ในแง่ที่ลิงไม่ได้แค่ลงมือแกล้ง แต่มันยังรอคอยการตอบสนอง มันคาดหวัง (ที่จะเห็น) ใบหน้าของเป้าหมาย”

การหยอกล้อกันในหมู่มนุษย์ สามารถเริ่มต้นได้เร็วที่สุดเมื่อมีอายุ 8 เดือน ซึ่งถือว่าเร็วกว่าการเริ่มที่จะพูดได้เสียอีก โดยทั่วไปการหยอกล้อมักจะเป็นการทำท่าจะยื่นของบางอย่างให้พ่อแม่ ก่อนที่จะเปลี่ยนใจเก็บของนั้นไว้กับตัว

การหยอกล้อในหมู่ลิงมีความคล้ายคลึงกับพฤติกรรมของมนุษย์ ในแง่ที่มีทั้งการยั่วยุ การเซ้าซี้ และมีท่าทีในลักษณะหยอกเอินและทำในสิ่งที่อีกฝ่ายคาดไม่ถึง

ทีมวิจัยกล่าวว่า แม้การศึกษาของพวกเขาจะเป็นการศึกษาพฤติกรรมนี้อย่างเป็นระบบเป็นครั้งแรก แต่ก่อนหน้านี้ก็มีงานศึกษาของเจน กู๊ดออล และนักวานรวิทยารายอื่นที่ระบุถึงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกันมาแล้วเมื่อหลายปีก่อน

นักวิจัยยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่า การที่ลิงในวงศ์ลิงใหญ่มีพฤติกรรมการหยอกล้อที่คล้ายมนุษย์ ก็เป็นไปได้ว่าต้นกำเนิดของสิ่งที่วิวัฒนาการมาเป็นการสร้างอารมณ์ขำขันในมนุษย์ อาจมีที่มายาวนานอย่างน้อย 13 ล้านปี ในช่วงที่คาดว่าวงศ์เชื้อสายมนุษย์กับลิงยังไม่แยกขาดจากกัน