วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2567

ภาพถ่ายระยะใกล้ ที่น่าทึ่งของดวงอาทิตย์ เปลวสุริยะและบริเวณมืดๆสีดำที่เห็นตรงนั้น เรียกว่าจุดดับดวงอาทิตย์


ภาพถ่ายระยะใกล้ ที่น่าทึ่งของดวงอาทิตย์ เปลวสุริยะและบริเวณมืดๆสีดำที่เห็นตรงนั้น เรียกว่าจุดดับดวงอาทิตย์ 


ภาพถ่ายระยะใกล้ ที่น่าทึ่งของดวงอาทิตย์ของเรา 
บริเวณมืดๆสีดำที่เห็นตรงนั้น เรียกว่าจุดดับดวงอาทิตย์ พวกมันดูมืดเพราะมันเย็นกว่าส่วนอื่น ๆ ของพื้นผิวดวงอาทิตย์ เปลวสุริยะคือการระเบิดของพลังงานอย่างกะทันหันซึ่งเกิดจากการพันกัน การข้าม หรือการจัดเรียงใหม่ของเส้นสนามแม่เหล็กใกล้จุดดับของดวงอาทิตย์


เปลวสุริยะ (อังกฤษ: Solar flare) คือการระเบิดใหญ่ในชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ ที่ปลดปล่อยพลังงานออกมาถึง 6 × 1025 จูล (ประมาณ 1 ใน 6 ของพลังงานที่ปลดปล่อยจากดวงอาทิตย์ทุกวินาที) คำนี้สามารถใช้เรียกปรากฏการณ์ลักษณะเดียวกันที่เกิดขึ้นบนดาวฤกษ์อื่นๆ โดยจะเรียกว่า เปลวดาวฤกษ์ (stellar flare)


ภาพต่อเนื่อง 2 ภาพของปรากฏการณ์เปลวสุริยะที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ โดยตัดแผ่นจานดวงอาทิตย์ออกไปจากภาพเพื่อให้เห็นเปลวได้ชัดเจนขึ้น
เปลวสุริยะส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์ทั้งหมด

 (โฟโตสเฟียร์, โครโมสเฟียร์, และโคโรนา) ทำให้พลาสมามีความร้อนถึงหลายสิบล้านเคลวิน และเร่งอนุภาคอิเล็กตรอน โปรตอน และไอออนหนักจนเข้าใกล้ความเร็วแสง เกิดการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านข้ามสเปกตรัมแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทุกช่วงความยาวคลื่น นับตั้งแต่คลื่นวิทยุไปจนถึงรังสีแกมมา 


เปลวสุริยะส่วนมากจะเกิดขึ้นในย่านแอ็กทีฟเช่น บริเวณจุดมืดดวงอาทิตย์ ซึ่งมีสนามแม่เหล็กกำลังแรง รังสีเอ็กซ์และการแผ่รังสีอุลตราไวโอเล็ตที่แผ่ออกมาโดยเปลวสุริยะสามารถส่งผลกระทบต่อชั้นบรรยากาศของโลก และทำลายการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุช่วงยาว การปะทะของคลื่นโดยตรงที่ความยาวคลื่นขนาดเดซิเมตรอาจรบกวนการทำงานของเรดาร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ทำงานในช่วงความถี่ดังกล่าว